The Endless Runway : เมื่อสนามบินสร้างเป็นวงกลม ?

ไม่ต้องมีปัญหาเครื่องขึ้นลงไม่ได้เพราะสภาพอากาศไม่ดี แถมยังใช้ระยะทางที่สั้นกว่า

คำยืนยันที่เขียนอยู่ในงานศึกษาวิจัย The Endless Runway นำโดย Henk Hesselink นักวิจัยที่ National Aerospace Laboratory ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมาพร้อมแนวคิดที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคในการขึ้นลงของเครื่องบินที่ต่างก็พบในสนามบินทั่วโลก… ที่ใช้รันเวย์เป็นเส้นตรง

Screen Shot 2017-04-10 at 06.53

เขาบอกว่า รันเวย์ หรือ ทางวิ่งสำหรับเครื่องบิน ซึ่งสร้างมาเป็นถนนเส้นตรงนั้น ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขึ้นลง เช่น เวลามีลมขวาง หรือ crosswind เกิดขึ้น บางรันเวย์ถึงกับใช้งานไม่ได้ ซึ่งนั่นหมายถึงข้อจำกัดปริมาณการใช้งานของสนามบินไปด้วย

ตามปกติแล้วรันเวย์ของสนามบินต่าง ๆ จะต้องสร้างในแนวเดียวกับลมประจำถิ่น โดยให้เครื่องบินต้องบินสวนทางลมเมื่อบินขึ้นหรือลงเสมอ เพื่อให้มีความเร็วสัมพัทธ์สูงขึ้น ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องทิศทางลมจนไม่เหมาะสมกับการบิน รันเวย์นั้นต้องปิดใช้งานชั่วคราว

Screen Shot 2017-04-10 at 06.52

ทีมนักวิจัย จึงทำการทดลองแนวคิดการสร้างสนามบินรูปวงกลมขึ้น ซึ่งจะทำให้เครื่องบินขึ้นลงตรงจุดไหนก็ได้ และถ้ามีลมเปลี่ยนทิศ ก็แค่ปิดรันเวย์ในส่วนโค้งนั้น ๆ ไป

แก้ปัญหาไม่รู้จบให้รู้จบ

นอกจากสนามบินรูปวงกลมนี้จะแก้ปัญหาเรื่องรันเวย์แล้ว สิ่งที่ได้ตามมาคือ ลดเวลาการบินคอย บินเลี่ยง รอใช้รันเวย์ และเมื่อลงจอดหรือบินขึ้น ก็ใช้ระยะทางวิ่งลดลง เพราะความโค้งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชะลอความเร็ว โดยรวม ๆ แล้วลดลง 10% เมื่อเทียบกับรันเวย์แบบเส้นตรง

Screen Shot 2017-04-10 at 07.15

งานวิจัยซึ่งดำเนินการช่วงปี 2012-2014 ไม่ได้สร้างสนามบินจริง ๆ แต่มีการออกแบบและทดลองกับซิมูเลเตอร์หรือเครื่องจำลองการบิน เขาพบว่าถ้าจะให้รองรับได้พอ ๆ กับสนามบินและเครื่องบินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สนามบินวงกลมนี้จะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 กิโลเมตร เท่ากับมีรันเวย์ยาวถึง 10 กิโลเมตรให้ใช้งาน

Screen Shot 2017-04-10 at 07.13

ในยุคที่ “ที่ดิน” หายากและมีราคาแพง สนามบินวงกลมนี้ใช้เนื้อที่น้อยกว่าสนามบินแบบปัจจุบันที่รองรับการใช้งานเท่า ๆ กัน (เช่นคิดเป็น 36% สนามบิน Paris Charles de Gaulle) แต่ต้นทุนจะสูงกว่าประมาณ 1.1-1.6 เท่า หรือราว 10-70% แต่ก็จะทำให้สนามบินรองรับเครื่องบินได้มากขึ้น

Screen Shot 2017-04-10 at 07.18

Screen Shot 2017-04-10 at 07.15.15

Screen Shot 2017-04-10 at 07.24.06

แน่นอนว่า เมื่อไอเดียนี้เผยแพร่ออกไป กลุ่มผู้ใช้รันเวย์เป็นประจำอย่างนักบิน ก็ออกมาแสดงการไม่เห็นด้วย โดยมองว่าอันตรายกว่า และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่า

ย้อนไอเดียอดีต

ที่จริงแล้วไอเดียสนามบินเป็นวงกลมแบบ Circular Runway นี้ไม่ได้เพิ่งเกิดนะครับ มีมาตั้งแต่เกือบ 100 ปีมาแล้ว ในปี 1919 มีการตีพิมพ์ไอเดีย เอารันเวย์ไปสร้างบนยอดตึกระฟ้าในนิวยอร์ก ต่อมา 1921 มีการจดสิทธิบัตรรันเวย์วงกลมเป็นครั้งแรก

Screen Shot 2017-04-10 at 06.56

ในปี 1957 มีการเสนอไอเดียนี้อีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 914 เมตร ตามขนาดของเครื่องบินในยุคนั้น

Screen Shot 2017-04-10 at 06.53.39

ปี 1965 มีการสร้างรันเวย์โค้งเพื่อทดลองจริง ที่บริษัท General Motors ในสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า นักบินก็บอกว่า ช่วงแรกบังคับเครื่องบินยาก ต้องมีเครื่องหมายบนรันเวย์ก็จะช่วยมากขึ้น และเมื่อลองซ้ำอีกเล็กน้อย นักบินก็บอกว่า ลงได้สบาย

Screen Shot 2017-04-10 at 06.53.49

แต่ทั้งหมดก็จบลงที่ขั้นของการทดลอง เพราะค่าก่อสร้างแพงกว่า (รันเวย์กว้างกว่าและยาวกว่า) และต้องอาศัยกระบวนการขั้นตอนและเทคนิคใหม่ในการใช้งาน รวมทั้งยังเป็นเทคโนโลยีการควบคุมจราจรทางอากาศในยุคนั้น

อย่างไรก็ตาม ไอเดียสนามบินวงกลมนี้ยังคงอยู่ในใจนักออกแบบหลายต่อหลายคน และมีการเสนอแนวคิดนี้อยู่เป็นระยะ ๆ

Screen Shot 2017-04-10 at 07.49

ยังไม่มีความชัดเจนว่า งานศึกษาวิจัยที่ปิดเล่มไปเมื่อปี 2014 จะนำไปสู่การทำจริง หรือการขึ้นหิ้ง ครั้งแล้วครั้งเล่าแบบไม่รู้จบ สมชื่อ The Endless Runway ?

 

อ้างอิง

เว็บไซต์โครงการ The Endless Runway
http://www.endlessrunway-project.eu/

สรุปผลการศึกษา The Endless Runway [PDF]
http://www.endlessrunway-project.eu/downloads/d5.4-the-endless-runway-final-report-v2.pdf

การทดสอบ Endless Runway ในซิมูเลเตอร์
https://www.youtube.com/watch?v=-QrPmwIlvDc

สกู๊ป BBC : Will circular runways ever take off?
https://www.youtube.com/watch?v=6ZicUXMNt-8

เว็บบอร์ด Airliners.net
http://www.airliners.net/forum/viewtopic.php?t=1357935

ข้อมูลเรื่องสนามบิน จาก Pantip โดยคุณ kidarmy
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8104697/X8104697.html

One thought on “The Endless Runway : เมื่อสนามบินสร้างเป็นวงกลม ?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.