แอป ​Teleclinic ส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม VHealth – โมเดลการจับมือของคนสาย Tech และ Med เพื่อสู้วิกฤตโควิด-19

แอป ​Teleclinic ส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม VHealth – โมเดลการจับมือของคนสาย Tech และ Med เพื่อสู้วิกฤตโควิด-19

Advertorial

ในภาวะวิกฤต การร่วมมือกันสำคัญอย่างยิ่ง และจะยิ่งเกิดประสิทธิภาพ ถ้าในความร่วมมือกันนั้น มีคนสาย Tech เข้าไปอยู่ด้วย

กรณีที่ True ร่วมกับโรงพยาบาลหลายแห่ง เริ่มจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.วชิระภูเก็ต หรือ รพ.ตราด ออกแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic, Vachira Phuket  Teleclinic และ Trat Teleclinic เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ของการขยับตัวได้อย่างทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ ซึ่งสังคมกำลังต้องการความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการบริการสุขภาพให้สอดรับกับระดับความรุนแรงของปัญหา

ตอนนี้ทั้งสามแอปได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี และประเดิมใช้งานจริงได้แล้ว โดยจะขยายการใช้งานไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ อีกหลายแห่งทั่วประเทศ ภายใต้ฐานนวัตกรรม แอป Teleclinic ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านสุขภาพ VHealth ของ True

โลกต้องการความร่วมมือ

กว่าครึ่งปีที่ “ไวรัสโคโรนา 2019” มาเขย่าและขยับโลกยิ่งกว่าภาวะสงครามและแผ่นดินไหว ที่ไม่มีตึกรามบ้านช่องเสียหาย ไม่มีอะไรพังทลาย

เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราตระหนักยิ่งขึ้น ถึงความสำคัญของการร่วมมือกันของคนทุกกลุ่ม เพื่อต่อสู้กับสภาวะที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และไม่มีใครเคยคาดคิดวางแผนรับมือไว้ก่อน

บิลเกตส์ เขียนบทความบอกว่า วิกฤตโควิด-19 นี้ จะต้องใช้ “นวัตกรรม” เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหา ต้องสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ในเวลาอันสั้น เพื่อทำให้โลกนี้กลับสู่สภาวะปกติ (ที่สุดท้ายแล้วอาจจะไม่ปกติ)

เราจึงไม่แปลกใจที่แทบจะทุกทางออกของปัญหาย่อย ๆ ในสภาวการณ์นี้ จะมี “เทคโนโลยี” เป็นกลไกสำคัญ

  • สารพัดการลงทะเบียน ที่แทบจะต้องทำผ่านระบบออนไลน์
  • การทำงาน การประชุม การมอบหมายงาน การส่งงาน
  • การเรียนรู้ ไปจนถึงการสอบ
  • การสอบสวนโรค การติดตามผู้สัมผัสโรค
  • การคัดกรองโรค คัดกรองผู้ป่วยก่อนจะมาโรงพยาบาล

แอป Chula Teleclinic เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม ที่สามารถสะท้อนการนำเทคโนโลยีมา “แก้ปัญหา” ภายใต้ “ความร่วมมือ” ได้เป็นอย่างดี เป็นจุดบรรจบของคนอย่างน้อย 3 กลุ่ม

ประชาชน – กังวล สับสน วิตกว่า ตนเองจะติดเชื้อโรคโควิด-19 มาหรือเปล่า ?

เพราะหนึ่งในคุณสมบัติที่ร้ายกาจของโรคนี้คือ เมื่อติดเชื้อ คุณจะยังไม่มีอาการใด ๆ และเมื่อผ่านไปสักพัก คุณจะสามารถแพร่เชื้อได้ด้วย ก่อนที่คุณจะมีอาการ (หรืออาจจะไม่มีอาการใด ๆ) และยิ่งกว่านั้น เชื้อนี้อาจจะทำให้คุณป่วยแบบที่คุณไม่คิดว่ามันจะผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ถ่ายเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นประจำจนเคยชิน

ปัจจัยนี้ทำให้เกิดผล 2 ขั้วสุดโต่ง คือ กลุ่มคนที่กังวลมากและคิดว่าตนเองเป็นแน่ ๆ แล้ว กับกลุ่มคนที่ไม่กังวลและไม่สนใจอะไร แถมด้วยคนจำนวนมากตรงกลาง ที่ทำตัวไม่ถูก จะไปโรงพยาบาลก็กลัวติดโรค หรือเกรงว่าจะเพิ่มภาระงานให้คุณหมอโดยไม่จำเป็น ขณะที่จะไม่ไปโรงพยาบาลก็กลัวว่าจะติดเชื้อแล้วอาการหนัก

แพทย์ – อยากใช้ทรัพยากรด้านการแพทย์ไปกับคนที่มีความจำเป็นที่สุดก่อน

แน่นอนว่า ทุกคนมีสิทธิสงสัยและไปโรงพยาบาล แต่ทุกครั้งที่มีคนไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น นั่นกลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เพราะจะเกิดการใช้ทรัพยากรไปกับคนที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ ทั้งทรัพยากรด้านสิ่งของ อย่างหน้ากาก ชุดตรวจ ไปจนถึงทรัพยากรบุคลากรการแพทย์ และเวลาของบุคคลเหล่านั้น ที่ควรจะถูกจัดสรรไปให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

แต่การจะห้ามทุกคนมาโรงพยาบาล ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงกว่า ดังเช่น เราเห็นข่าวในต่างประเทศ ที่มีหลายคนเสียชีวิตอยู่ที่บ้านอย่างน่าเศร้า

คนสายเทคโนโลยี – มองเห็นว่าสิ่งที่ทั้งประชาชน และ แพทย์ ต้องการเหมือนกัน คือ “การคัดกรอง”

คัดกรองคนที่ยังไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ ไม่ต้องออกจากบ้านไปเสี่ยงรับเชื้อเพิ่มระหว่างทางหรือที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ก็คัดกรองให้มีคนป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์จริง ๆ มาถึงมือแพทย์ได้อย่างปลอดภัย ทันท่วงที

ให้แพทย์ทำเอง หรือ ให้ประชาชนทำเอง ย่อมยากที่จะเกิดขึ้น นี่จึงเป็นที่ทางและโอกาสที่ดีอย่างยิ่งของ “คนสายเทค” ที่จะเข้ามาหยิบยื่นทักษะอันมีค่าและสำคัญ และทำให้เกิด “โซลูชั่น” หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ได้จริง

Chula Teleclinic โมเดลความร่วมมือสู้โควิด-19

แอป Chula Teleclinic เกิดจากความร่วมมือของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ True วางแผนคิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นระบบช่วยถามคำถามคัดกรองเบื้องต้นให้แก่ประชาชนที่มีอาการสงสัย และให้คำแนะนำอย่างชัดเจนว่า ควรไปโรงพยาบาลหรือยัง ?

หากพบว่ามีความเสี่ยง ก็สามารถทำนัดหมายผ่านแอป เพื่อรับการซักถามอาการเบื้องต้นจากแพทย์พยาบาลโดยตรง ผ่านระบบ Tele consult

หากแพทย์มีความเห็นว่า ผู้ป่วยควรจะต้องไปพบแพทย์แน่แล้ว ระบบก็สามารถทำการนัดหมาย และออกใบนัดพบแพทย์แบบออนไลน์ได้

นอกจากนั้นยังมีช่องทางการติดต่อผ่านแชต กับแพทย์ พยาบาล เพื่อสอบถามปัญหาเป็นการเฉพาะบุคคลได้ด้วย

ความครบวงจรยังครอบคลุมไปถึงการติดตามอาการ เนื่องจากแพทย์จะมีระบบประมวลผล ที่แสดงเป็น dashboard รายงานสถานการณ์และความจำเป็นต้องดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยรายใหม่ รายปัจจุบัน รวมไปถึงการติดตามเคสที่ตรวจรักษาเรียบร้อยแล้ว

แอปนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปโหลดมาใช้ได้ฟรี มีติดเครื่องไว้เพื่อเป็นช่องทางยามต้องการ

โหลดได้ที่นี่ >

รพ.จุฬาลงกรณ์ – Chula Teleclinic (iOS และ Play Store) http://onelink.to/n5cn7n

รพ.วชิระภูเก็ต – Vachira Phuket Teleclinic (Play Store) https://bit.ly/2zMacYu

รพ.ตราด – Trat Teleclinic (Play Store) https://bit.ly/2ZjQbDz

เมื่อปัญหา “สเกล” ได้

อีกหนึ่งความท้าทายที่บอกว่า “คนสายเทค” จะต้องเข้ามาร่วมมือในการแก้ปัญหานี้อย่างมากคือ ปัญหาโควิด-19 ไม่ได้จบง่าย และยังขยายขอบเขตได้ แบบคำที่เหล่าสตาร์ทอัพมักจะพูดกัน “Scalability” มันสเกลได้ จากที่เราตกใจกับผู้ป่วย 8 หมื่นคนในจีน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนี้เลขหลักล้านของผู้ป่วย และหลักแสนของผู้เสียชีวิต เกิดขึ้นแล้ว

นั่นจึงเป็นเหตุที่ว่า “คนสายเทค” คือ “ช่างตีเหล็ก” ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาร่วมผลิต “อาวุธไฮเทค” เพื่อรับมือกับ “สงครามโรค” ครั้งนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.