แน่นอนว่าเป็นการเปิดตัวสินค้า สินค้านั้นก็ย่อมเป็นพระเอก แต่นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่จอใหญ่ขึ้น และราคาที่ทะลุเพดานไปแล้วนั้น ยังมีอีก 2 สิ่งที่น่า “ว้าว” อยู่ด้วย
หน้าเว็บ Apple ก่อนเปิดตัวสินค้าใหม่คืนนี้
"เดี๋ยวเราจะกลับมา"#AppleEvent pic.twitter.com/sdQgyc6UOn
— YO•WARE (@yoware) September 12, 2018
ก่อนจะลงไปเฉลย ลองใช้เวลาย่อหน้านี้ ทายกันเล่น ๆ ในใจดูดีกว่า ว่าจะคิดตรงกันหรือไม่ ?
สิ่งหลัก ๆ ที่ Apple แถลงข่าวเปิดตัว ได้แก่
มือถือ 3 รุ่น : iPhone XS / iPhone XS Max / iPhone XR
นาฬิกา 1 รุ่น 2 ขนาด 2 วัสดุ 3 สไตล์ : Apple Watch Series 4 ขนาด 40 และ 44 มิลลิเมตร อะลูมิเนียม และ สแตนเลส มีทั้งแบบธรรมดา แบบไนกี้ และแบบ Hermes
พร้อมทั้งบอกกำหนดการเปิดให้ดาวน์โหลด iOS 12 / tvOS 5 / watchOS 5 (17 ก.ย.) / macOS Mojave (24 ก.ย.)
สรุป #AppleEvent
เปิดตัว
iPhone XS
iPhone XS Max
iPhone XR
Apple Watch Series 4ยังไม่มีกำหนดวางขายในไทย
เลิกวางขาย
iPhone SE
iPhone 6s
iPhone Xลดราคา
iPhone 7
iPhone 8
Apple Watch Series 3 ลด 2000 บาท pic.twitter.com/UXmiV5bLTh— YO•WARE (@yoware) September 12, 2018
แต่มี 2 สิ่ง ที่โดยส่วนตัวรู้สึกว่าน่าตื่นเต้น กว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกใหม่และดีขึ้นตาม “รูทีน” ข้างต้น ก็คือ
1 การลงลึกเรื่องสุขภาพ
แม้เป็นส่วนหนึ่งของ Apple Watch Series 4 ที่เปิดตัวใหม่ (และตอนนี้ก็ยังใช้ได้แค่ในสหรัฐอเมริกา) แต่ความสามารถในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ Electro-cardiogram หรือ ECG นั้น เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า ข่าวลือที่สะพัดกันมาหลายปี ว่า Apple ลงลึกด้านนี้ถึงขั้นไปจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมานั่งคิดค้นพัฒนานั้น จะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใด
วิธีใช้ ECG ใน Apple Watch คือการใส่ไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง และใช้นิ้วของมืออีกข้างหนึ่งแตะที่เม็ดมะยม ซึ่งจะทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร เกิดการตรวจวัดการทำงานของหัวใจได้คล้ายกับเครื่อง ECG ตามโรงพยาบาล แถมยังส่งรายงานไปให้หมอได้อีกด้วย
ฟีเจอร์นี้อาจจะมีแววพลิกโฉมวงการสุขภาพ เพราะหัวใจที่เต้นผิดจังหวะนั้น จะตรวจพบด้วยเครื่อง ก็ต่อเมื่อตอนที่มีอาการจริง ๆ แต่หลายครั้งที่เราไปตรวจสุขภาพแล้วเผอิญขณะนั้นไม่มีอาการ เครื่องที่โรงพยาบาลก็จะตรวจไม่เจอ แต่พอมีเจ้านี่ไว้ที่ข้อมือ อยากตรวจเมื่อไหร่ก็ตรวจไปได้เลย
Apple Watch Series 4 มาพร้อม 3 ความสามารถใหม่ในการตรวจสอบหัวใจ
1 ภาวะหัวใจเต้นช้าเกินไป
2 ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AF)
3 ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECGซึ่งนับเป็นอุปกรณ์เพื่อผู้บริโภคชิ้นแรกที่ตรวจ ECG ได้ และผ่านการรับรองจาก FDA แล้ว#AppleEvent pic.twitter.com/2skzwcmfSR
— YO•WARE (@yoware) September 12, 2018
หลังจาก Apple Watch ทำให้ธุรกิจนาฬิกาข้อมือได้รับผลกระทบไม่เท่าไหร่ แค่ฟีเจอร์นี้อย่างเดียว อาจจะทำให้อุปกรณ์ ECG แบบพกพาราคาหลักหมื่นขายยากขึ้นก็เป็นได้
ยังไม่ต้องพูดถึงฟีเจอร์อื่น ๆ เกี่ยวกับสุขภาพที่เคยเป็นข่าวลือ เช่น การตรวจน้ำตาลในร่างกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในอีกไม่นานหาก Apple Watch สามารถตรวจระดับน้ำตาลได้โดยไม่ต้องเจาะเส้นเลือดกันบ่อย ๆ จะมีผู้ป่วยหันมาใช้กันมากแค่ไหน และยิ่งไปกว่านั้น จะช่วยป้องกันคนที่จะป่วยเป็นเบาหวานได้มากขึ้นหรือไม่ ?
ความสามารถด้านการตรวจหัวใจใน Apple Watch ยังมีอีก 2 ข้อ ซึ่งใช้เซนเซอร์วัดอัตราการเต้นหัวใจ แต่ใส่ความฉลาดไปที่การประมวลผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเตือนเมื่อหัวใจเต้นช้า หรือหัวใจเต้นพลิ้ว
ขณะที่ฟีเจอร์การตรวจจับรับรู้การสะดุดตกหกล้ม และส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือโดยอัตโนมัติ ถ้าเราไม่ตอบสนองภายใน 1 นาทีนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ทำให้เรียนรู้ว่า แนวคิดการพัฒนาสิ่งใหม่ซึ่งก่อคุณูปการต่อผู้ใช้นั้นจะเป็นอย่างไร
และยังแอบประทับใจประโยคทิ้งท้ายของผู้นำเสนอที่บอกว่า “เราคงไม่อยากได้ใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ แต่มันก็ช่วยให้อุ่นใจที่ได้รู้ว่ามี” (ประทับใจคนวางสคริปต์การนำเสนอ ที่มองอย่างรอบด้าน)
สื่อในต่างประเทศบางท่าน ถึงขั้นรีวิวแนะนำให้ซื้อ Apple Watch ไว้ใช้ เพราะมันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณรอดชีวิต
2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
Apple มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่น่าประทับใจ เอาจริงเอาจัง อย่างเช่น การตั้งเป้าว่าจะใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาด 100% ในอาคารสำนักงานโรงงานของ Apple ทั่วโลก หรือการปลูกต้นไม้มากมายในพื้นที่สำนักงานใหญ่
หลายคนจะบอกว่า “เพราะ Apple รวยแล้ว จึงทำได้” ก็คงไม่ผิดนัก (ล่าสุด Apple เพิ่งขึ้นแท่นบริษัทที่มีมูลค่าสูง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือที่เรียกว่า 1-trillion company)
แต่ถ้าถามย้อนกลับไป มีบริษัทมากมายที่มีรายได้และกำไรจากการขายสินค้า แต่ก็ไม่ได้สนใจจะลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน
ในด้านสิ่งแวดล้อม
ตอนนี้ Apple ใช้พลังงานสะอาด 100% แล้วiPhone Xs ยังใช้ตะกั่วรีไซเคิล
ลดการใช้ตะกั่ว 10000 ตันใน 1 ปี
และพลาสติกลำโพงก็รีไซเคิล#AppleEvent pic.twitter.com/iIdycqzCP9— YO•WARE (@yoware) September 12, 2018
“นี่คือสิ่งที่เราอยากให้คู่แข่งของเราเลียนแบบบ้าง” Apple เคยประกาศแบบนี้ขึ้นเว็บไซต์ที่บอกเล่าความพยายามปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะ “ทำให้โลกนี้ดีกว่าตอนที่เราเกิดมาและใช้ประโยชน์”
ในการแถลงข่าวครั้งนี้ Apple ได้ประกาศว่า iPhone XS รุ่นใหม่ จะมีบางชิ้นส่วนผลิตจากการรีไซเคิล iPhone รุ่นเก่า ๆ ที่ส่งกลับมาแยกชิ้นส่วนด้วยหุ่นยนต์
สิ่งแรกที่นำกลับมาใช้ใหม่คือ “ตะกั่ว” ที่ใช้บัดกรีอุปกรณ์ให้เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่ง Apple ประกาศว่าจะช่วยให้ลดการใช้ตะกั่วใหม่ลงได้ปีละ 10,000 ตัน และอีกส่วนหนึ่งก็คือพลาสติกลำโพงก็เป็นพลาสติกที่ทำจากวัสดุใช้ซ้ำ
“ซึ่งแปลว่าจะลดการที่เราจะต้องไปขุดแร่ออกมาใช้เพิ่มเติม” จริง ๆ แล้วก็เคยได้ยินมาอยู่บ้างจากที่ Apple เคยประกาศไว้ แต่ไม่คิดว่าจะเริ่มทำได้เร็วขนาดนี้ Apple ยังเคยบอกในแผนว่า วันหนึ่งอุปกรณ์ Apple ทั้งหมดจะใช้วัสดุหมุนเวียน โดยไม่ต้องขุดอะไรออกมาจากแผ่นดินโลกนี้อีก
และอีกส่วนที่ดีต่อผู้บริโภคคือ การประกาศว่าจะให้อุปกรณ์ใช้งานไปได้นาน ๆ โดยไม่ทำให้มันล้าหลังเพียงด้วยการที่มันอัพเกรดเป็น iOS เวอร์ชั่นใหม่ ๆ ไม่ได้ ซึ่งก็ทำให้ iOS 12 ยังรองรับย้อนไปถึง iPhone 5s ที่วางขายในปี 2013
ไม่ว่าจะด้วยผลทางธุรกิจ สร้างภาพลักษณ์ หรือด้วยเหตุใดก็ตาม แต่ย่างก้าวของ Apple ที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น ได้ตัดสินใจเลือกลงทุนกับสิ่งที่ส่งผลต่ออนาคต และ รับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ไม่ใช่แค่ฟีเจอร์ วัตถุ เปลือก และการตลาดที่ไม่ยั่งยืน
ด้านล่างนี้รวมทวีตจากช่วงเวลาในวันเปิดตัว iPhone XS เมื่อ 12 กันยายน 2018 เชิญตามไปดูบรรยากาศกันได้ครับ