ออกแบบชีวิต ในยุค Internet of Things

#Advertorial

 

คนเราอยู่กับอินเทอร์เน็ตกันมาร่วม 30 ปีแล้ว ถึงเวลาให้สิ่งไม่มีชีวิตรอบ ๆ ตัวเรา ได้ต่ออินเทอร์เน็ตกันบ้าง

จากยุคต้น ๆ ที่เป็นเพียง “เครื่องมือสื่อสาร” ต่อมา “อินเทอร์เน็ต” ขยับขยายมาเป็นเส้นทางหลักในการ “บริโภค” ข้อมูลข่าวสาร และนับจากไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ “อินเทอร์เน็ต” เริ่มขยายอาณาเขต สู่การเป็นช่องทางการสื่อสารของ “สิ่งไม่มีชีวิต” ต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา

สิ่งที่คุณไม่คิดว่าจะพูดได้ ก็จะคุยโต้ตอบสนทนากับคุณได้

สิ่งที่คุณคิดว่าจะต้องอยู่นิ่งตั้งทิ้งไว้เฉย ๆ ก็จะจัดการตัวมันเองแทน ทุ่นเวลาให้คุณได้

network-782707_960_720.png

 

ทำไมสิ่งไม่มีชีวิต จำเป็นต้องต่อเน็ต ?

ก็เพื่อเตรียมความพร้อม “ช่วยงาน” มนุษย์ได้อย่างราบรื่น ผ่านการเชื่อมต่อโยงใยถึงกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ว่า ก็มีทั้งเชื่อมผ่าน Wi-Fi สำหรับอุปกรณ์ที่อยู่กับที่ อยู่ในบ้านในอาคาร กับแบบที่เชื่อมผ่านโครงข่ายมือถือ ซึ่งภายในอุปกรณ์เหล่านั้นก็จะมีซิมการ์ดเล็ก ๆ อยู่ ไม่ต่างอะไรกับโทรศัพท์มือถือของเรา

สิ่งเหล่านี้เรารู้จักกันมาสักพักแล้ว ในนาม IoT “ไอโอที” ซึ่งย่อมาจาก Internet of Things หรือเรียกแบบไทย ๆ คือ “อินเทอร์เน็ตสิงสู่อยู่ในทุกสิ่ง” สิ่งที่นิ่ง ๆ ก็กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ขยับขับเคลื่อนได้เองตามที่มนุษย์ต้องการ

เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้าถึงแล้ว ก็จะเปิดทางให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ธุรกิจใหม่ ๆ ตามมาอีกมากมายอย่างแน่นอน

shutterstock_268622315.jpg

แล้วเราควรจะปรับตัวออกแบบชีวิต ให้เหมาะกับยุค IoT นี้อย่างไรดี ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า อุปกรณ์ในกลุ่ม IoT มีฟีเจอร์ร่วมกันแบบไหนได้บ้าง อาทิ

สั่งเปิดปิดผ่านเน็ต เช่น สวิตช์ ปลั๊ก เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ที่การใช้งานปกติแต่เดิมนั้น ต้องการเพียงใครสักคนเดินเข้ากดปุ่มเปิดปิด

สั่งปรับตั้งค่าผ่านเน็ต เช่น เปลี่ยนสีสันของหลอดไฟ

เพิ่มความรู้ความฉลาดผ่านเน็ต เช่น ลำโพงอัจฉริยะ ค้นหาข้อมูลจากเน็ตได้ทันที

มีความสามารถในการจำ และวิเคราะห์ข้อมูล เช่น จำเสียงหรือจำหน้าเราได้ (ขึ้นอยู่กับเซนเซอร์ที่ติดตั้งอยู่) หรือจำได้ว่าเรามักจะใช้งานมันในเวลาไหน สั่งอะไร

รายงานการทำงานผ่านเน็ต (แบบเรียลไทม์) รู้ได้ทันทีว่าอุปกรณ์นั้นกำลังทำอะไรอยู่

คุยกันเองผ่านเน็ต ระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เช่น เมื่อมือถือเดินมาถึงหน้าประตูบ้าน ประตูก็เปิดออกเอง

สิ่งเหล่านี้เป็นความสามารถพื้นฐานของอุปกรณ์ไฮเทคในกลุ่ม IoT ซึ่งในยุคต้น ๆ ก็มักเป็นการจับเครื่องใช้ไฟฟ้าสิ่งเดิม ๆ ที่เราเคยมีอยู่แล้วมาต่ออินเทอร์เน็ต เช่น ทีวีต่อเน็ต ตู้เย็นต่อเน็ต แต่เรายังพบว่า มีผู้ผลิตอุปกรณ์ไฮเทคหลากหลายที่มีความสามารถใหม่ ๆ ออกมาไม่รู้จบด้วยเช่นกัน

communication-1439132_960_720.jpg

ส่วนสำคัญคือเราจะออกแบบการใช้งานมันอย่างไร ?

อุปกรณ์เหล่านี้ บางทีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งของฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจจะเพียงเพราะราคาที่สูงเกินกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ อาจะมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของหลอดไฟธรรมดา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะจำเป็น คุ้มค่า หรือ ฟุ่มเฟือย ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเกิดประโยชน์มากเพียงใด

เรามักเห็นจินตภาพของอนาคตตามนิยายหรือหนัง เช่น อุปกรณ์ไฮเทคในอนาคต จะสะดวกสบายมากเสียจน คนไม่ต้องทำอะไร จนกระทั่งคนนั้น มือลีบ ขาลีบ สมองโต

ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้เหมือนกัน หากเรามองเห็นมันเป็นแค่เครื่องอำนวยความสะดวก

เปรียบเทียบอุปกรณ์ IoT กับรถยนต์ สำหรับคนที่เอะอะก็ขึ้นรถ ใกล้แค่ไหนก็ขึ้นรถ แม้จะเดินได้ ก็เหมือนเป็นการทำลายโอกาสตัวเองที่จะได้ขยับร่างกาย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

แต่ถ้าคนไหนจะใช้รถก็ต่อเมื่อต้องเดินทางไกล ที่การเดินเท้ากับเวลาที่เสียไป ไม่คุ้มค่ามากเท่าใดนัก แบบนี้ รถก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพชีวิตโดยภาพรวมได้

อุปกรณ์ IoT ก็เช่นเดียวกัน หากมองแค่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก เราอาจจะพบว่า คือ สิ่งฟุ่มเฟือย แต่ถ้าได้ออกแบบให้ผสานกับชีวิตอย่างดี ประสิทธิภาพโดยภาพรวมก็สามารถเกิดขึ้นได้

shutterstock_336266570.jpg

ตัวอย่างแนวคิดในการใช้ IoT

ช่วยให้มองเห็นในสิ่งที่ไม่เคยมองเห็น

ยกตัวอย่างพื้นฐานง่าย ๆ คือ สายรัดข้อมือสุขภาพต่าง ๆ (รวมทั้งนาฬิกาอัจฉริยะ) จะมีการเก็บข้อมูลก้าวเดิน การขยับ การเต้นหัวใจ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ก่อนหน้านี้เราไม่เคยเห็นมันมาก่อน ไม่มีใครจะเดินไปนับก้าวไปได้ตลอดเวลา แต่ข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้เรามองเห็นตัวเองได้ชัดขึ้น และจะมีประโยชน์สูงสุด คือการนำมาปรับปรุงพฤติกรรมวิถีชีวิตให้ได้จริง ๆ

ช่วยให้เชื่อมต่อกับคนรอบข้างได้มากขึ้น

เช่น นาฬิกาอัจฉริยะที่เชื่อมต่อเน็ตตลอดเวลา เมื่อเด็ก ๆ ใส่ไว้ ผู้ปกครองจะได้รับทราบข้อมูล พิกัด ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น

ช่วยให้มีเวลาทำสิ่งอื่นได้มากขึ้น

อุปกรณ์ IoT ชนิดที่สั่งงานด้วยเสียงได้ จะช่วยให้งานบางอย่าง สำเร็จได้ด้วยใจนึก (แล้วปากพูดออกมา) หรืออุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อคุยกันเองกับอุปกรณ์อื่น ก็เหมือนเรามอบหมายงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำให้กับมัน เราก็ไม่ต้องเสียเวลาทำสิ่งเดียวกันซ้ำ ๆ และในท้ายที่สุด เราก็มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น

ช่วยให้เราทำบางสิ่งได้ แม้จะไม่ได้อยู่ตรงนั้น

การสั่งงานเปิดปิดอุปกรณ์ผ่านเน็ต ก็ทำให้เราสั่งงานบางอย่าง ที่จากเดิมจะต้องกดปุ่มอยู่ที่นั่นจึงจะทำได้ แต่เมื่ออุปกรณ์นั้นต่อเน็ต ปุ่มก็ติดตามไปให้เรากดได้ทุกที่ (จากบนหน้าจอมือถือเราเอง)

เปลี่ยนกิจวัตรของเรา เป็นกิจวัตรของอุปกรณ์ IoT

หนึ่งในแนวคิดที่ควรจะมี หากเราต้องการใช้อุปกรณ์ในกลุ่ม IoT ให้เกิดประโยชน์มาก ๆ คือ วิเคราะห์วิถีชีวิตตัวเราเองว่า มีสิ่งใดเป็นกิจวัตร ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นสามารถดำเนินการแทนได้ ก็ให้ปรับตั้งให้อุปกรณ์ทำงานแทนตามเวลาหรือเงื่อนไข

เช่น เมื่อตื่นนอน นอกจากใช้อุปกรณ์ช่วยปลุกให้ลืมตาแล้ว เรายังทำอะไรต่อไปอีก ปิดแอร์ ปิดไฟดวงใด เปิดกาน้ำร้อน เปิดหน้าต่างรับลม เปิดทีวีดูข่าว ฯลฯ เราสามารถตั้งให้ทุกสิ่งเหล่านี้ทำงานต่อเนื่องกัน ทันทีที่เราลืมตาตื่นนอน ก็เป็นไปได้ เราจึงสามารถข้ามไปทำสิ่งอื่นได้เลย เพราะกิจวัตรประจำวัน อุปกรณ์เหล่านี้มันทำเองแทนเราแล้ว ชุดคำสั่งแบบนี้เราเรียกว่า “ซีน” (Scene)

 

True IoT_png-01.png

IMG_6225.JPG

IoT เทคโนโลยีที่ควรลองสัมผัส

IoT ใกล้ตัวเรามากขึ้น ทั้งในแง่ราคาและการเข้าถึง จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะต้องสั่งตรงจากต่างประเทศ ตั้งแต่ยังไม่ได้จับของ แต่เดี๋ยวนี้มีของให้หยิบจับลองใช้กันเต็มที่ เช่น True IoT ในเครือ True Corporation แบรนด์ชั้นนำที่ร่วมบุกเบิกวงการนี้ในประเทศไทยมาเป็นรายแรก ๆ และลงทุนนำอุปกรณ์ IoT ของจริง ๆ มาให้เห็นให้ใช้กันใกล้ ๆ นับตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน

IMG_5074.jpg

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยลองจับ ใช้ ทำความเข้าใจ แนะนำให้ลองเริ่มต้นศึกษา เรียนรู้ เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจจะเห็นโอกาสอะไรบางอย่างในคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่และลูกใหญ่นี้

ติดตามข่าวสาร IoT จากทรูเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : TrueIoT

 

IMG_6219.JPG

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.