2 เทคโนโลยีหลัก รองรับโลกอนาคต บนฐาน IoT

#Advertorial

หนึ่งในโจทย์สำคัญของ IoT คือ โครงสร้างพื้นฐานเหมาะสมและพร้อมใช้ ซึ่งมองเผิน ๆ อาจจะไม่มีอะไร แต่เบื้องหลังนั้นต้องมีการตระเตรียมอย่างจริงจัง

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังมุ่งไปสู่โลกแห่ง IoT กันอย่างแน่นอน และยิ่งบุคคลหรือธุรกิจใดเข้าใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ได้ก่อน ก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตและขยายศักยภาพไปได้มากกว่า

 

ในวันนี้เราคงไม่พูดถึง IoT ระดับเริ่มต้น ที่เราอยู่กับมันมาพอสมควร อย่างพวกอุปกรณ์กลุ่มสวมใส่ หรือ wearable technology ที่หลายคนใช้งานในชีวิตประจำวันกันแบบคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่อยากจะชวนมองไปที่อัตราส่วนขนาดใหญ่ระดับบริษัท ระดับเมือง หรือ ระดับประเทศ ที่จะใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของ IoT ได้อย่างเต็มที่

 

เทียบ IoT – Internet of Things ให้เข้าใจง่าย ๆ ก็นึกภาพมนุษย์เรายุคที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ ยุคที่ไม่มีโทรศัพท์ และ ยุคที่มีโทรศัพท์แบบอยู่กับที่ ทุกวันนี้หลายคนนึกภาพไม่ออกแล้วว่า สมัยก่อนเรานัดเจอกันตามห้างได้ยังไง เราจะใช้ชีวิตยังไง ถ้าเราติดต่อกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ทันทีเดี๋ยวนี้

 

การสื่อสารไร้สาย ขยายขีดจำกัดของบุคคล ช่วยให้ธุรกิจเติบโต และส่งผลต่อการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ เหมือนกับเปลี่ยนจากสามล้อลาก ไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า คือ ขยายทั้งมิติความเร็ว ความแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายขอบเขตไปสู่ความกว้าง ความไกล ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือแม้แต่การบริหารประเทศ

 

เครือข่ายไร้สายผนวกอินเทอร์เน็ต พามนุษย์เจริญก้าวมาไกล และวันนี้ถึงเวลาที่เครือข่ายไร้สายกับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามายกระดับศักยภาพของ “สิ่งไม่มีชีวิต” วัตถุสิ่งของรอบ ๆ ตัวเราให้มุ่งหน้าสู่อนาคต

shutterstock_120548806 copy

 

ถึงเวลาใส่ความ “ฉลาด” ให้อุปกรณ์รอบตัว

 

สิ่งของเครื่องใช้รอบ ๆ ตัวเราก็เหมือนกับมนุษย์ในยุคก่อนมีโทรศัพท์ แต่ละชิ้น ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ไม่สุงสิงกับอุปกรณ์อื่นใด ตู้เย็นก็อยู่ส่วนของตู้เย็นทำหน้าที่ของตัวเองไป สัญญาณไฟจราจรก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป เครื่องจักรในโรงงานแต่ละเครื่อง ก้มหน้าก้มตาทำงานไป จะส่งเสียงร้องให้มนุษย์ไปช่วย ก็เมื่อไม่ไหวแล้วเท่านั้น

แต่ยุค IoT นั้น ตู้เย็นจะคุยกับร้านสะดวกซื้อ ลำโพงจะสื่อสารกับทีวี ประตูจะส่งข้อมูลไปยังมือถือ ปลั๊กไฟจะคุยกันเอง หลอดไฟจะส่งข้อมูลไปมาหากัน สัญญาณไฟจราจรจะคุยกับรถบรรทุก รถบรรทุกจะส่งข้อมูลพิกัดมาคุยกับระบบบริหารโรงงานต้นทางและปลายทาง รถยนต์จะคุยกันรถอีกคัน เครื่องจักรในโรงงานจะคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่า วันนี้ทำผลงานได้ดีแค่ไหนแล้ว และอีกนานเท่าไรจึงจะต้องการให้เปลี่ยนอะไหล่ ฯลฯ

IMG_7989

นึกออกใช่ไหมครับว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้มนุษย์เรามองเห็นและมีเวลาไปแก้ปัญหาที่ยากขึ้น ส่วนปัญหาอุปสรรคที่เจอกันอยู่ทุกวี่วัน ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ที่ฉลาดขึ้นเหล่านี้ รวบรวมข้อมูล วางแผน และแก้ปัญหาขั้นต้นไปก่อนได้เลย

ด้วยความสามารถของ IoT คาดเดาได้ไม่ยากว่า อีกไม่นานทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ IoT เป็นจำนวนมากมายก่ายกองนับหมื่นแสนล้านชิ้น เรียกว่า ทำให้จำนวนมือถือดูน้อยไปเลย

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นยากมาก หากไม่มีการวางโครงข่ายโทรคมนาคมให้กับอุปกรณ์เหล่านี้

IMG_7992

นึกย้อนไปว่า กว่าที่คนเราจะคุยสื่อสารกันได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลกนั้น ก็เริ่มมาจากการวางโครงข่าย ที่ผ่านมามีการนำโครงข่ายสื่อสารมือถือปกติ ไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ IoT ในยุคแรก ๆ หมายถึงว่า ก็ใส่ซิมลงไปในอุปกรณ์นั้น ผลก็จะพบว่า ค่อนข้างมีอุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย และ การใช้พลังงาน

IMG_7940

 

สู่ยุคใหม่ กับ 2 เทคโนโลยีเพื่อ IoT

 

ขณะเดียวกันจึงมีการคิดค้นออกแบบมาตรฐานโครงข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งด้านต้นทุน การใช้งาน และการดูแลรักษาระยะยาว

มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมระดับสากล คือ NB-IoT และ CAT-M1 ซึ่งมีคุณสมบัติร่วมที่สำคัญคือ

  • รองรับอุปกรณ์มาเชื่อมต่อเป็นจำนวนมากมายมหาศาล
  • ใช้พลังงานน้อยลง แบตเตอรี่จึงอยู่ได้นานขึ้น
  • เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลได้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

Narrow Band IoT หรือ NB-IoT ต่อยอดมาจากมาตรฐานโครงข่ายสื่อสารไร้สายความเร็วสูง LTE 4G แต่พัฒนาให้สื่อสารได้ไกลโดยใช้พลังงานต่ำ ซึ่งจะเหมาะกับอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากนัก เช่น อุปกรณ์เซ็นเซอร์มิเตอร์ประปา ไฟฟ้า เซ็นเซอร์ระดับน้ำ เซ็นเซอร์สำหรับที่จอดรถ Smart Parking

CAT-M1 หรือ LTE-M เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้สื่อสารระยะไกลแต่ใช้พลังงานต่ำ แต่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่า NB-IoT ในขณะที่ก็ยังคงใช้พลังงานอย่างประหยัดอยู่ เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ประเภทติดตามพิกัดตำแหน่ง อย่างกลุ่มระบบติดตามรถบรรทุก หรือ ติดตามสินทรัพย์

ทั้งสองมาตรฐานช่วยตอบโจทย์ LPWA IoT และพร้อมจะก้าวไปสู่ยุคแห่ง 5G Massive IoT ในอนาคตอันใกล้

IMG_7988

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ แล้วประเทศไทยเรามีโครงข่ายทั้งสองนี้แล้ว โดย True Corporation เป็นผู้ริเริ่มและวางระบบ NB-IoT และ CAT-M1 ให้พร้อมใช้ได้จริงครอบคลุมทั่วประเทศ และได้รับการยอมรับจาก GSMA ว่าเป็นผู้ให้บริการรายแรกของประเทศไทยที่ให้บริการโครงข่าย IoT ทั่วประเทศ

iottrue

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายที่มีคุณภาพที่สุด อาจจะไม่ใช่คำตอบเดียว เพราะโจทย์ใหญ่ต่อไปของ True คือ จะ “แนะนำ” วิถีชีวิตยุคใหม่สู่คนไทยบนโครงข่ายที่ลงทุนริเริ่มพัฒนานี้ได้อย่างไร และยังเป็นโจทย์ใหญ่ของ คนไทย ว่าจะ “ออกแบบ” วิถีชีวิตในยุค IoT ของตนเอง และ ธุรกิจของตนเอง เป็นอย่างไร ?

 


True IoT : The Future is Real. โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้
ติดตามข่าวสารไอโอทีจากทรูเพิ่มเติม ได้ทาง www.trueiot.truecorp.co.th และ FB Fanpage : True IoT


 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.