ไทยขึ้นแท่นมีเครือข่าย NB-IoT พร้อมใช้แล้วทั่วประเทศ

#Advertorial

หลายคนกำลังตื่นเต้นกับคลื่นใหม่ ๆ สำหรับมือถือรุ่นใหม่ ๆ แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่น่าจับตา และมีแววจะตื่นเต้นยิ่งกว่า คือ คลื่นที่จัดสรรสำหรับอุปกรณ์เล็ก ๆ มากมายในอนาคต

 

หากเราใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกันมาถึงจุดหนึ่ง เราจะพบว่า “การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย” นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้วิถีชีวิต การทำงาน การติดต่อสื่อสารของเราเปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด

นับจากวันที่เรามีมือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง ชีวิตเราก็เข้าสู่การทำงาน การติดต่อสื่อสารในอีกยุค เราสนทนา ไลฟ์สด เสพสื่อ แบบความคมชัดสูง ได้จากทุกที่ทุกเวลา

IMG_8018

แต่ในขณะนี้เราได้เดินทางมาถึงบานพับประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ที่ความสามารถในการเชื่อมต่อไร้สาย จะไม่ได้จำกัดอยู่ที่มนุษย์และโทรศัพท์มือถือ หรือถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีราคาสูงอีกต่อไป เพราะอุปกรณ์รอบตัวของเรา ก็กำลังจะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในแบบไร้สายได้เช่นกัน

 

บางคนนึกถึงว่า “อ้าว อุปกรณ์ต่าง ๆ มันก็เชื่อมต่อไร้สายได้ตั้งนานแล้ว กลอนประตู หลอดไฟ กล้องวงจรปิด ก็ต่อกับ Wi-Fi ที่บ้านนั่นไง…”

 

ใช่ครับ แต่นั่นก็เป็นเพียงช่วงเวลา “เปลี่ยนผ่าน” ถ้าเทียบง่าย ๆ ก็เหมือนการดูหนังจากแผ่น VCD ที่วันหนึ่ง เราก็ก้าวสู่ยุค DVD และ Streaming แบบ HD หรือ 4K ภายในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น

 

การที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกับ Wi-Fi ก็แปลว่า อุปกรณ์นั้นขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ (คนที่ใช้ iPad รุ่นที่มีแต่ Wi-Fi คงเข้าใจข้อนี้ดี) หากต้องการใช้ให้มันใช้งานได้ในขณะที่เคลื่อนที่ ก็ต้องใส่ “ซิม” เข้าไป

 

แต่การแค่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ใส่ซิมได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหาจนจบครับ เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นก็จะใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น ทั้งที่ตัวมันต้องการรับส่งข้อมูลแค่เล็ก ๆ แต่เชื่อมต่อเครือข่าย 3G 4G และเมื่อมีอุปกรณ์มากมายก่ายกอง ก็ทำให้อาจมาเบียดเบียนการใช้งานเครือข่ายสื่อสารของมนุษย์เราอีก

IMG_8017

อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนามาตรฐานระดับโลก ก็มองเห็นแนวโน้ม และเตรียมทางแก้ไว้แล้ว

 

หากมีจักรยานวิ่งอยู่บนท้องถนนมากมาย ก็จัดระเบียบ สร้างช่องทางจักรยานไว้โดยเฉพาะ ไม่ต้องให้จักรยานไปขึ้นทางด่วน ซึ่งเสี่ยงอันตราย และ ทำให้รถคันอื่นต้องมาคอยชะลอหรือระวัง

 

นั่นคือภาพเปรียบเทียบที่พอจะใกล้เคียงของเทคโนโลยีที่ผมพาดหัวไว้ด้านบน นั่นคือ NB-IoT นั่นเองครับ

 

NB-IoT คือ มาตรฐานเทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อให้อุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ เชื่อมต่อได้เหมือนกับที่มือถือของเราที่เรียกว่าแทบจะโทรจากที่ไหนก็ได้

 

แก้ปัญหาที่ยกไปด้านบนได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับการรับส่งข้อมูลขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีพลังงานเหลือเฟือ ในบางอุปกรณ์ แบตเตอรี่ก้อนเดียวอยู่ได้ถึง 3 ปี

 

ซึ่งการใช้พลังงานอย่างประหยัดคุ้มค่า ยังเป็นผลดีต่อต้นทุนการบริหารจัดการด้วย เพราะเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนมากเข้า (เช่น เป็นเซนเซอร์วัดระดับน้ำทุกท่าน้ำทั่วประเทศ หรือ แค่เป็นกลอนประตูโรงแรมทุกห้อง) การจะต้องเดินทางไปเปลี่ยนถ่านบ่อย ๆ ก็เป็นต้นทุนรวมมหาศาล

 

[ อ่านตัวอย่างเทคโนโลยีเหล่านี้ได้จาก บทความที่ผมเดินทางไปสำรวจนวัตกรรมจากงาน TrueBusiness Forum ปีล่าสุด ]

 

เครือข่ายพร้อมแล้ว คุณพร้อมหรือยัง ?

 

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คิดว่า “อีกนาน กว่าเราจะได้ใช้”

 

คุณคิดผิดแล้วครับ… เพราะเครือข่าย NB-IoT มีให้ใช้จริงในประเทศไทยแล้ว และครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศในระดับ Nationwide อีกด้วย ซึ่งผู้ที่บุกเบิกขยายติดตั้งโครงข่าย NB-IoT ให้ใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ คือ TrueMove H

 

เว็บไซต์ GSMA หรือสหพันธ์ผู้ประกอบการโทรคมนาคมระดับโลก (ผู้จัดงาน Mobile World Congress ที่ยิ่งใหญ่) บรรจุ True Corporation เข้าไปอยู่ในแผนที่ Mobile IoT Deployment Map ซึ่งหมายความว่า ในประเทศไทยมีเครือข่าย NB-IoT ที่ใช้ได้จริงครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว (ก่อนอีกหลาย ๆ ประเทศ) โดย True เป็นผู้ให้บริการเจ้าแรก ในขณะนี้

Screen Shot 2018-05-21 at 07.30.21

Screen Shot 2018-05-21 at 07.33.58.png

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี หรือ ผู้บริโภคทั่วไป ที่สนใจก็สามารถเข้าไปศึกษาได้จากทั้งเว็บ GSMA เอง หรือ จะเข้าไปดูรายละเอียดกับชุมชน True IoT ซึ่งมีการเปิดรับสมัคร developer ร่วมมือกันพัฒนาแล้ว

 

แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาคธุรกิจ สมควรจะต้องจับตามอง และ พิจารณาว่า อุปกรณ์ในกลุ่ม IoT เหล่านี้จะเข้าไปเสริมประสิทธิภาพ สร้างประสิทธิผล ลดต้นทุน ในการขยายงานให้องค์กรของท่านได้อย่างไร

ไม่แน่ว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดยิ่งใหญ่ อาจจะเกิดขึ้นจาก เทคโนโลยีขนาดเล็ก ๆ เหล่านี้ก็ได้

 

 


IMG_6981

True IoT : The Future is Real โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้ ติดตามข่าวสารไอโอทีจากทรูเพิ่มเติม www.trueiot.truecorp.co.th และ FB Fanpage : True IoT

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.