เมืองใหม่ในยุค IoT

#Advertorial

หนึ่งใน “วิสัยทัศน์” หรือ “ฝัน” ของผู้นำด้านเทคโนโลยียุคปัจจุบันนี้ คือ การผสานร้อยเรียงหลากหลายความไฮเทคเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ในลักษณะที่ทำให้เมืองทั้งเมือง “ฉลาดขึ้น”

 

IoT หรือ Internet of Things อาจจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ฉลาดขึ้น ทำงานแทน หรือ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ระดับปัจเจกบุคคล หรือระดับอุปกรณ์ แต่ถ้าหากต้องการให้เทคโนโลยีล้ำสมัยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนกลุ่มใหญ่ได้ จะต้องอาศัยการวางแผน วิจัย และ พัฒนา มากพอ ๆ กับการที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับ

แนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” หรือ Smart City มีการกล่าวขานถึงมายาวนาน แต่การจะทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นไม่ง่ายเลย เพราะ “เมือง” มีความซับซ้อนกว่าอุปกรณ์ หรือ บ้านสักหลัง และยังมีผลกระทบกับคนหมู่ใหญ่มาก ๆ หากต้องการให้ประสบความสำเร็จจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ รวมทั้งการขับเคลื่อนที่ฉับไว หลักแหลม รอบคอบ และมีวิสัยทัศน์

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดของการสร้างเมืองอัจฉริยะ จึงไม่ใช่ตัวเมือง ตัวเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งตัวเงิน แต่หัวใจอยู่ที่ตัว “คน” ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด จะต้องยกระดับแนวคิด เพื่อให้การวางแผนและขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิผล

 

citywide.jpg

 

เมืองในฝัน ?

เมืองอัจฉริยะ ในความคิดของคุณคืออะไร ? หากจะจินตนาการ ผมคิดว่า น่าจะต้องให้ความสะดวกสบายที่เข้าถึงได้โดยคนทุกกลุ่ม ยกระดับคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานให้กับทุกคน เข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพิ่มความปลอดภัยแต่ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว เพิ่มสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคที่แท้จริงตามรัฐธรรมนูญ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ มีความโปร่งใสสุจริต

หรือเจาะจงในภาพเล็กลง เมืองอัจฉริยะควรจะต้องมีส่วนช่วย ลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสีย บนท้องถนน แก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างชาญฉลาด มีระบบทางการเงินรวมถึงภาษีที่สะดวกเป็นธรรม ช่วยให้คนซื้อของได้อย่างชาญฉลาด ไม่ฟุ้งเฟ้อเกินจำเป็น รู้จักเก็บออมในเวลาที่เหมาะสม

มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำให้สิ่งที่เคยมีเป็นมรดก ยังทรงคุณค่าและเพิ่มมูลค่า เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น มองเห็นปูมหลังและวัฒนธรรมอนุรักษ์ไว้และเข้าถึงได้ง่าย ระบบจัดการพลังงานที่ได้ผล ส่งเสริมพลังงานสะอาด ส่งเสริมสุขภาพประชาชน

 

cover.jpg

ประเทศไทย 5.0 ?

ไม่ว่าความฝันใหญ่หรือเล็ก ไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่มีการลงมือทำ แต่การเปลี่ยนเมืองหนึ่งให้กลายเป็น Smart City ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นไม่ง่าย เรียกได้ว่า การเปลี่ยนแบบ “พลิกแผ่นดิน” เลยก็ได้ ต้องมีคนคิด และ คนทำ ที่มีความสามารถ รวมทั้งต้องมีการจับมือ ร่วมมือ สนับสนุน ลงทุนลงแรง โดยหลายกลุ่ม

ถ้าจำกันได้ เมื่อปลายปี 2560 ก็เพิ่งมีการเปิดตัว True Digital Park ที่เรียกได้ว่า เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลแห่งแรกของไทย กำลังจะสร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2561 ซึ่งจะเป็นหนึ่งในแหล่งสำคัญรวบรวมบุคลากรที่เปี่ยมความสามารถจากหลากหลายสาขา สามารถพบปะหารือเพื่อสร้างสรรค์กันได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะทำให้คนรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นธุรกิจไฮเทค ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเชื่อว่า คนเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญทำให้ Smart City เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีความซับซ้อนเพียงใดก็ตาม

 

shutterstock_653575417.jpg

ยกตัวอย่าง หากจะเริ่มสร้างเมืองอัจฉริยะ จุดหนึ่งที่น่าจะต้องจัดการให้ได้ผลคือ “ถนน” ที่คนมากมายใช้สัญจรไปมา และใช้ชีวิตอยู่บนถนนกันมากมาย

 

🛣 ถนนอัจฉริยะ คือ ถนนที่ทำให้คนใช้เวลาอยู่น้อยที่สุด และ ปลอดภัยที่สุด เป็นถนนที่ให้ “คน” ทุกคน เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ “คนมีรถ” เท่านั้น

🛣 ถนนอัจฉริยะ จะมีความสามารถพิเศษในการจัดการจราจรโดยประเมิน ประมวล ข้อมูลที่เก็บมาได้ผ่านระบบเซ็นเซอร์และกล้องจำนวนมาก

🛣 ขณะเดียวกัน ถนนอัจฉริยะ จะประสานข้อมูลโดยตรงกับ “รถยนต์อัจฉริยะ” ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนโดยอัตโนมัติ แน่นอนว่า สัญญาณไฟจราจร จึงอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องติดให้คนขับรถดูอีกต่อไป แต่ “สัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ” จะสั่งตรงไปยังรถยนต์แต่ละคัน อย่างแม่นยำและลงตัว

🛣 คนที่มีรถส่วนตัว ขึ้นรถแล้วกดปุ่มว่าจะไปที่ไหน ไม่ต้องขับ นั่งสบาย ๆ ไปถึงปลายทาง

🛣 ส่วนคนที่ไม่ใช้รถส่วนตัว แต่ใช้รถสาธารณะ ก็จะมี “รถเมล์อัจฉริยะ” ขับมารับที่ป้าย โดยจับจองที่นั่งไว้ได้ก่อนผ่านโทรศัพท์มือถือ

🛣 คนที่อยากเดินบนถนน ก็ไม่ต้องห่วงว่ารถพวกนี้จะขับมาชน เพราะมีระบบเซนเซอร์ระวังคนให้อย่างเต็มที่

🛣 “ทางด่วนอัจฉริยะ” จะเป็นทางด่วนที่ “ด่วน” จริง ๆ สักที เพราะรถที่ขึ้นไปบนนั้นจะใช้ความเร็วสูงโดยอัตโนมัติ แต่ทว่ายังคงความปลอดภัย

 

เขียนมาแค่นี้ หลายท่านก็คงว่าผมเพ้อเจ้อไปแล้ว โดยเฉพาะในประเทศไทย คงไม่มีวันจะทำได้ แต่ที่จริงแล้ว ประเทศไทยเราก็เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมมาแล้วหลายครั้ง อยู่ที่ว่าจะมีใครกล้าลุกขึ้นมาฝันหรือลุกขึ้นมาทำหรือไม่ ?

การจะไปถึงฝันขั้นนั้นได้ ไม่ใช่จัดซื้อจัดจ้างอะไรสักอย่างแล้วจะจบ ได้ครบถ้วนสำเร็จรูป จะต้องอาศัยการวางแผนลงรายละเอียด โดยคนที่ทั้งมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี เชี่ยวชาญในการพัฒนาเมือง และที่สำคัญคือ ต้องเริ่มต้นลงมือทำอย่างไม่ลดละหรือเลิกรา และส่งไม้ต่อให้คนรุ่นถัดไปมารับช่วงแบบรุ่นต่อรุ่น

 

Digital-Park2.jpg

 

เมืองใหม่ เริ่มต้นที่ IoT

หนึ่งในเรื่องพื้นฐานที่สุดของการสร้างเมืองใหม่ที่มีความอัจฉริยะในตัวเองนั้น คือ การเรียนรู้จักและเข้าใจเทคโนโลยี Internet of Things

ในฐานะที่ True ซึ่งเป็นผู้นำการเดินหน้าภารกิจด้าน Internet of Things อย่างจริงจังมาหลายปี จึงเป็นที่เฝ้าจดจ่อรอดูนวัตกรรมและเทคโนโลยี IoT ที่กำลังจะผุดขึ้นใน True Digital Park (บริเวณถนนสุขุมวิท 101 สถานีบีทีเอส ปุณณวิถี) รอให้เราได้ไปสัมผัส ต่อยอดจินตนาการสร้างสรรค์ได้อย่างครบวงจร

สำหรับคนที่มีความปรารถนาแรงกล้าที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจสร้างเมืองใหม่ในอนาคต ไม่จำเป็นต้องรอคนอื่นมาสร้างให้ เราสามารถลุกขึ้นมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ IoT ก่อนจะก้าวต่อไปสู่การเป็น “ผู้สร้าง” เมืองใหม่ด้วยมือเรา

 

 


อ่านข่าว True Digital Park

https://techsauce.co/property/true-digital-park-support-thai-startup/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.