เธอชื่อ “เกด” (KADE)

#Advertorial

เมื่อ กสิกรไทยรุกปั้นแบรนด์ให้แก่ machine ที่กำลังจะกลายร่างจากเครื่องจักรไฮเทคเป็น บุคคลที่มุ่งหมายจะ รู้จักรู้ใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

 

เรามี data scientist 40 คน ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักทั้งกลางวันทั้งกลางคืน

คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ประกาศบนเวทีการแถลงข่าวครั้งสำคัญภายใต้แบรนด์ “กสิกรไทย”

 

หลายปีก่อน คงไม่มีใครคาดคิดว่าธนาคารหรือสถาบันการเงิน จำเป็นจะต้องก้าวเข้ามาทำหน้าที่เป็น “ผู้สร้าง” จากเดิมที่เพียงทำหน้าที่ “ผู้ให้บริการ” โดยมีบุคลากรในตำแหน่ง “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” จำนวนกลุ่มใหญ่

“…และเรายังต้องการเพิ่มอีกให้ถึง 100 คนคุณสมคิดย้ำ

แน่นอนว่าเครื่องมือทันสมัยไฮเทคอย่างคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถูกนำมาปรับใช้ยกระดับในธุรกิจการธนาคารเป็นลำดับต้น ๆ

 

 

บางท่านอาจจะจำการเปลี่ยนแปลงได้ ในยุคหนึ่งเมื่อเทคโนโลยีและเครือข่ายการสื่อสารมีความพร้อม ตู้เอทีเอ็มก็กลายเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ปฏิวัติวิถีชีวิตของผู้คนมากมาย แต่ในอีกมุมหนึ่ง สำหรับธนาคารแล้ว ก็คงจะเน้นอยู่ในฟากของ “ผู้ซื้อ” เทคโนโลยีเหล่านั้นมาเปิดให้บริการเป็นหลัก แต่สิ่งที่ KBTG ได้ทำมาหลายปี และได้ประกาศออกมานั้น เป็นสัญญาณที่เป็นรูปธรรมว่า ธนาคารในยุคดิจิทัล กำลังจะเปลี่ยนจากเพียง “ผู้ให้บริการ” เป็น “ผู้สร้างผลิตภัณฑ์” ด้วย

 

 

และยังเป็นอีกหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่า การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สั่นสะเทือนโลกได้ในยุคดิจิทัลนี้ สามารถเริ่มต้นได้ที่ประเทศไทย โดยคนไทย!

 


ในบรรยากาศที่คราคร่ำด้วยสื่อชั้นนำของประเทศไทย เธอคือนางเอกของงาน ชื่อของ เกดคือสิ่งหลักสิ่งเดียวที่บริษัทเทคโนโลยีที่มีฐานทางการเงินรายใหญ่แห่งนี้อยากจะบอกกับเรา

 

 

“K PLUS AI-Driven Experience” คือคำเต็มอันเป็นที่มาของชื่อ KADE หรือที่เรียกว่า “ชุดของประสบการณ์” รูปแบบใหม่ที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นคำตอบของบริการทางการเงินแห่งอนาคต ที่กำลังจะเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน

ชื่อเต็มของ “เกด” บ่งบอกชัดว่า อะไรคือขุมพลังที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง

 

 

ปัญญาประดิษฐ์ จะขับเคลื่อนทุกบริการ ทุกผลิตภัณฑ์ของ K PLUS ทำให้เป็นบริการทางการเงินอันชาญฉลาด ภายใต้แนวคิด from Digital to Intelligence” ประธาน KBTG อธิบาย พร้อมทั้งยังยกตัวอย่างให้เห็นว่า ปัญญาประดิษฐ์มาทำให้บริการของธนาคารที่ทุกคนรู้จัก เปลี่ยนแปลงไปได้มาก และ ดีขึ้นขนาดไหน โดยเฉพาะการอยู่ในบทบาทที่มนุษย์ไม่เคยทำได้มาก่อน

 


 

เกดปล่อยกู้

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและใกล้ตัวคนส่วนใหญ่ คือ Machine Lending หรือ “เครื่องปล่อยกู้” (KBTG ไม่ได้ใช้ภาษาไทยคำนี้ แต่ผมขอเรียกให้เข้าใจง่ายแบบนี้แหละ)

เป็นที่ทราบกันดีว่า การกู้ยืมเงิน หรือ ขอสินเชื่อในปัจจุบัน แม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การขอกู้และการอนุมัติให้กู้ทำได้ง่ายและเร็วมากเพียงใด แต่ก็ต้องเข้าใจว่า คนที่อยากกู้อีกจำนวนมาก จะพบกับคำว่า “ไม่อนุมัติ” ได้รวดเร็วเฉกเช่นเดียวกัน

สาเหตุหนึ่งคือ “วิธีคิด” แบบดั้งเดิม (ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน) ในการให้สินเชื่อนั้น สถาบันการเงินจะต้องประเมินให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีโอกาสจ่ายคืนครบทั้งต้นและดอกภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งการประเมินเหล่านี้จะทำโดยเจ้าหน้าที่ ด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยประเด็นพึงพิจารณาต่าง ๆ ราว 40 ข้อ แต่แม้จะมีเครื่องมือเหล่านี้แล้ว “หนี้เสีย หนี้สูญ” ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ

“หนี้สูญ กับ สินเชื่อ เป็นของคู่กัน ที่เราจะต้องประเมินและพิจารณาอยู่แล้ว” คุณสมคิด ตอบสื่อที่ถามว่า การเอาหุ่นยนต์มาประเมินให้กู้ แทนมนุษย์ มันจะไว้ใจได้ ไม่ก่อหนี้เสียมากไปกันใหญ่หรือ ?

 

 

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม หนึ่งในสามแม่ทัพหลักของ KADE อธิบายเสริมให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาประเมินสินเชื่อ คอมพิวเตอร์จะมีความสามารถที่เหนือกว่าคนในการวิเคราะห์ไขว้ข้อมูลปริมาณมหาศาล จนทำให้ผลการประเมินสุดท้าย ค่อนข้างจะต่างไปจากการประเมินด้วยคน   “ในจีนมีการประเมินสินเชื่อด้วยแมชชีน ซึ่งมีการวิเคราะห์กว่า 700 พารามิเตอร์ ในขณะที่ถ้าเป็นการพิจารณาโดยคน เราจะประเมินจากแค่ 40 พารามิเตอร์ และทำให้มีคนอีกจำนวนมากเสียโอกาสไป”

“ไม่ใช่เรื่องแม่นหรือไม่แม่น แต่จะทำให้มีกลุ่มคนที่ไม่เคยกู้ได้ จะกู้ได้มากขึ้น เช่น กลุ่มฟรีแลนซ์ที่ไม่มีข้อมูลบันทึกเส้นทางทางการเงินที่มากพอ”

“และไม่แน่ว่า ในการประเมินให้สินเชื่อด้วยแมชชีน อาจจะทำให้หนี้เสียลดน้อยลงกว่าเดิมก็ได้” คุณสมคิดระบุ

 

แล้วหุ่นยนต์จะปล่อยกู้ได้อย่างไร ?

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ที่ KBTG กำลังซุ่มสร้างอยู่นี้ จะใช้ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล ซึ่งเดิมเคยปล่อยร้างในกล่องเก็บเอกสารรอทำลาย มาถลุงใหม่ให้เป็นอัญมณีที่มีค่า   …และเป็นลูกแก้วทำนายที่มหัศจรรย์   พูดให้ง่าย อธิบายให้ชัดขึ้นก็คือ ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าแต่ละคน จะนำมาผ่านเข้าสู่การประมวลคิดพิจารณาซ้ำว่า ข้อมูลเหล่านั้น มันบ่งชี้อะไรได้อีกบ้าง และธนาคารจะนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้ารายนั้นได้อย่างไร

 

 

หรือถ้ามองอีกมิติ ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะบ่งชี้ว่า ธนาคารควรจะเปิดบริการอะไรใหม่ขึ้นมาเป็นการเฉพาะก็เป็นได้

 

การปล่อยกู้ให้สินเชื่อ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ KBTG เลือกมา “ปั้น” ก่อน โดยความสามารถของระบบ Machine Intelligence จะเข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลหาคำตอบเพียง 2 ประเด็นหลัก

    1. ใครบ้างที่มีเครดิตดีน่าเชื่อถือสำหรับการให้สินเชื่อ ? รูปแบบการประเมินแบบใหม่ทำให้มีผู้ที่มีความสามารถในการชำระคืนสินเชื่ออาจเพิ่มจำนวนขึ้น ระบบจะเข้าไปวิเคราะห์จากรายได้ รายจ่าย เงินออม เงินลงทุน ในบัญชี K PLUS รวมไปถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล ทำให้ได้คนกลุ่มหนึ่งที่ธนาคารวางใจได้ว่า ให้สินเชื่อที่เหมาะสมไปแล้วจะได้คืน
    1. เมื่อได้กลุ่มแรกมาแล้วจำนวนหนึ่ง ระบบก็จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์อีกว่า บุคคลเหล่านี้คนใดมีโอกาสที่ต้องการจะขอสินเชื่อบ้าง จำนวนเงินเท่าใด จากนั้นระบบก็จะทำการติดต่อไปยื่นข้อเสนอที่คาดว่าตรงกับความต้องการ

“เราพยายามที่จะไม่รบกวนลูกค้า และ ระบบของเราจะ​ฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ในการประเมิน” ผู้บริหาร KBTG ระบุ

 

 

ข้อมูลธุรกรรมในบัญชีที่ผ่านการวิเคราะห์โดย KADE ยังบอกได้ว่า “กิจการ” ของคุณเป็นอย่างไร ? “บัญชีร้านของคุณมีเงินโอนเข้ามากเข้าบ่อย นั่นก็แสดงว่าคุณขายดี ก็มีโอกาสที่เราจะไปเสนอสินเชื่อให้ขยายกิจการ”


เกดคือ คำตอบ

การมีบริการชาญฉลาดมากมาย ก็ยังคงเป็นเพียงชุดของบริการ แต่ยังไม่สามารถครองใจลูกค้าได้ คุณสมคิดบอกว่า แค่ฟังก์ชั่นไม่ใช่คำตอบระยะยาว แต่จะต้องสร้างความเชื่อถือไว้วางใจจากลูกค้าให้ได้ เพื่อประกันความสำเร็จ

 

 

นั่นเป็นเหตุให้ KBTG ต้องจัดงานใหญ่ แถลงเปิดตัวความเป็น “บุคคล” ภายใต้ชื่อที่คุ้นหูคนไทยอย่าง “เกด” KADE จองที่ความเป็นบุคคลที่จะมาเป็นบุคคลใหม่ที่จะให้บริการทางการเงินที่ตรงใจเราที่สุด ดังสโลแกนที่ว่า #รู้ใจRightNow

 

[ KADE VALUES ]

 

 

แม้ KADE ยังไม่มีอะไรที่มองเห็นและจับต้องได้ตอนนี้ แต่ก็เหมือนกับการที่ KBTG ประกาศให้ทราบว่า สิ่งใหม่ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว และอีกไม่นาน KADE จะเข้ามาเปลี่ยนทุกสิ่งของกสิกรไทย เริ่มจากโฉมใหม่ของ K PLUS ไปจนถึงวิถีชีวิตทางการเงินของลูกค้า K PLUS

 

เปิดฉากธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคต

ปัญญาประดิษฐ์ และ ข้อมูลมากมาย สามารถนำมาปรับทำให้กลายเป็นกุญแจสำคัญของบริการธนาคารในอนาคตได้ และ KBTG กำลังเดินหน้าเต็มกำลังบุกเบิก ด้วยขุนพลระดับแนวหน้าของวงการ

 

 

KADE ทำให้ธนาคารออนไลน์มีบริการอะไรแปลกใหม่อย่างที่เราไม่คิดว่าธนาคารจะทำ แม้แต่การวิเคราะห์จับคู่ลูกค้าและผู้ค้า ผ่านเพียงแพลตฟอร์มดิจิทัลบนฐานสมาชิก K PLUS ซึ่งมีกว่า 8 ล้านราย และตั้งเป้าจะขยายสู่ 20 ล้านภายใน 5 ปี   KADE จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ให้ลูกค้าได้ใช้ได้จับกันในช่วงปลายปี 2561 นี้ “ไม่อยากโฟกัสเมืองไทย แต่เราจะไประดับภูมิภาค เชื่อว่าตอนนี้เราใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในมุมของลูกค้า mobile” คุณสมคิดย้ำว่า KADE คือ สิ่งสำคัญที่จะพาไปสู่มิติของธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคตได้จริง

 

ไม่แน่หรอกว่า นี่อาจจะไม่ใช่แค่ธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ แต่ต้องมองว่า ในอนาคตธนาคาร อาจจะไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ก็ได้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.