True กับ เส้นทางสู่ 5G และ Massive IoT

[เครดิตภาพ cover : https://www.flickr.com/photos/janitors/25405560761]

ในยุค IoT ไม่ได้มีแค่โลกของอุปกรณ์รอบตัวเราเท่านั้นที่จะเปลี่ยนผันไป แต่ “โครงข่าย” ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะเป็นเหมือนถนนใหญ่ และ ทางยกระดับ ที่จะทำให้ อุปกรณ์อัจฉริยะจำนวนมหาศาลในอนาคต ทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

บทความต่อไปนี้ จะช่วยทำให้เข้าใจหลักคิดพื้นฐานเบื้องหลังของ True ในการเตรียมความพร้อมโครงข่ายให้รองรับโลกไฮเทคที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเริ่มที่ระบบอัจฉริยะกับยานพาหนะขนาดเล็กและระบบการจอด

นอกจากนี้ True ยังจัดกิจกรรมที่น่าสนใจในรั้วสถานศึกษา นำ TrueLab เพื่อเตรียม “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญอย่างยิ่งสำหรับยุคแห่งอินเทอร์เน็ตทุกหนทุกแห่ง

20170403_092554


The path towards 5G Massive IoT

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้าน IoT หรือ  Internet of Things เดินหน้าเตรียมความพร้อมในการให้บริการผ่านเทคโนโลยีแห่งอนาคต LTE-M (Cat-M1) และ NB-IoT ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้เป็นจำนวนมาก (massive IoT) ลดปริมาณการใช้พลังงานทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่นานขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ IoT ได้ดียิ่งขึ้น

LTE-M (Cat-M1) และ NB-IoT

LTE-M (Cat-M1) รองรับการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องในขณะอุปกรณ์เคลื่อนที่เหมาะกับการใช้งาน IoT ที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงไม่มากนัก (ไม่เกิน 1 Mbps) แต่สามารถประหยัดพลังงาน เช่น ใช้ส่งภาพ/วิดีโอความละเอียดไม่สูงนักหรือส่งพิกัดอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องขณะอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะใช้พลังงานน้อยเมื่อเที่ยบกับระบบ 3G/4G จึงไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย จึงสามารถใช้กับ application แบบติดตามตำแหน่งอุปกรณ์เช่น Smart Transportation และ Asset Tracking ได้เป็นอย่างดี

สำหรับ NB-IoT นั้นเหมาะกับ application ที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำๆ (ไม่เกิน 200 kbps) และไม่ต้องการส่งข้อมูลบ่อยครั้งนัก (มักเป็นอุปกรณ์ที่อยุ่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่) เช่น ใช้ส่งค่าที่อ่านได้จากมิเตอร์ต่างๆไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์เพียงวันละ 1-2 ครั้ง หรือใช้ส่งค่าสถานะของเซ็นเซอร์เฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ

ในการนี้ ทรู ได้ทำการติดตั้งระบบ Vehicle/Asset tracking โดยใช้เทคโนโลยี LTE-M (Cat-M1) และประสบความสำเร็จในการทดสอบการใช้งานของระบบในสภาพแวดล้อมจริงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ Ericsson โดยได้รับความร่วมมือจาก truelab ลาดกระบัง ในการร่วมจัดกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาในหัวข้อ The path towards 5G Massive IoT พร้อมร่วมเยี่ยมชมการทดสอบระบบ

นอกจากนี้ ทรู ยังได้มีการติดตั้งและทดสอบระบบ smart parking ด้วยเทคโนโลยี Narrow Band IoT (NB-IoT) และทดลองการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงที่อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก

20170403_093055

ทั้งนี้ LTE-M (Cat-M1) และ NB-IoT ถูกออกแบบให้รองรับการใช้งาน IoT applications ที่แตกต่างกัน การใช้งานทั้งสองเทคโนโลยีร่วมกัน จะช่วยให้โครงข่ายของ ทรู รองรับการใช้งาน IoT ได้หลากหลาย ครบถ้วนทุกรูปแบบการใช้งาน โดยยังคงจุดเด่นในการใช้พลังงานต่ำ สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้าง (Low Power Wide Area, LPWA) และยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT เป็นจำนวนมาก (massive IoT) นับเป็นเทคโนโลยีเพื่อการก้าวไปสู่ 5G Massive IoT ในอนาคต

True IoT_Ò˜ÙÚÙ_0004

 

Bike tracking: ระบบติดตามและแจ้งเหตุสำหรับรถจักรยาน

เป็นหนึ่งในตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเทคโนโยี LTE-M (Cat-M1) กับระบบติดตามพาหนะหรือระบบติดตามสินค้า (Vehicle/Asset Tracking) โดยอุปกรณ์ IoT ที่ใช้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่ง (GPS) และเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับเมื่อจักรยานล้มหรือประสบอุบัติเหตุ ข้อมูลของตำแหน่งจักรยานและสถานะของจักรยาน ณ เวลาปัจจุบันจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยี LTE-M (Cat-M1) ไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นสามารถนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ (ตำแหน่งและสถานะปัจจุบันของจักรยาน) มาแสดงผลผ่าน mobile APP ได้ในทันที

ตัวอย่างการใช้งานของ bike tracking

1.1) สามารถระบุตำแหน่งปัจจุบันได้ทันทีผ่านหน้า mobile APP

1.2) ระบบสามารถบันทึกเส้นทาง ความเร็ว ระยะทาง ประวัติการเดินทางของรถได้

1.3) ในกรณีที่จักรยานล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ระบบสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉิน พร้อมตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุไปให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทันที

1.4) สามารถประยุกต์ใช้ในการป้องกันการขโมย เช่นกรณีที่จอดรถทิ้งไว้ในที่สาธารณะ ระบบสามารถแจ้งเตือนเมื่อรถมีการเคลื่อนที่จะจากบริเวณที่เราจอดรถไว้โดยไม่ได้รับอนุญาติ และเราสามารถติดตามรถคืนได้จากตำแหน่งปัจจุบันของรถ

1.5) นอกจากนี้เราสามารถต่อยอดการใช้เทคโนโลยี LTE-M (Cat-M1) กับการใช้งานระบบนี้ โดยสามารถเพิ่มการส่งภาพถ่ายหรือวิดีโอความละเอียดต่ำที่บันทึกขณะใช้งานรถจักรยานมาเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ได้เช่นกัน

Screen Shot 2017-08-14 at 19.24.54Screen Shot 2017-08-14 at 19.25.03

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.