เช็คพอยต์ 4G ไทย : น่าพอใจ… แต่ยังมีสิ่งท้าทายรออยู่

{Advertorial}

เพียง 2 ปี หลังจากสิ้นสุดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่โทรคมนาคม วันนี้ 4G ประเทศไทย วิ่งมาไกลกว่าที่หลายคนคาดคิด

11 พฤศจิกายน 2558 กสทช.ประกาศบทสรุปการประมูลคลื่นความถี่ครั้งประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้แค่เป็นการเปิดหน้าใหม่ของการสื่อสาร 4G ในประเทศไทย แต่ยังเป็นการพลิกโฉมสังเวียนการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งแน่นอนว่าผลดีนั้นเกิดขึ้นกับผู้บริโภคโดยภาพรวม

นึกย้อนไป 2 ปีก่อน ช่วงที่เราเพิ่งได้ยินคำว่า 3G กันไม่นาน 4G เพิ่งจะผุดขึ้น ยังจำได้ว่ามีกระแสวิเคราะห์ว่า 4G นั้นเป็นแค่แฟชั่นทางเลือกที่หรูหรา และคงจะมีอุปกรณ์พกพาที่ได้ใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 4G เพิ่มขึ้นแบบช้า ๆ เพราะส่วนใหญ่ยัง “อิน” กับ 3G

แต่หันกลับมาดูปัจจุบัน อุปกรณ์ 4G มีผู้ใช้อยู่ไม่น้อย และต้นทุนการเข้าถึง 4G ต่ำลงอย่างมาก

หนึ่งในกุญแจสำคัญคือ การเดินหน้ายกระดับ พัฒนา และขยายโครงข่าย 4G อย่างจริงจัง ของค่ายมือถือที่ตระหนักดีว่า ในยุคที่กำลังมาถึงนี้ นอกจากความครอบคลุมแล้ว ความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ “สปีด” นั้นสำคัญและเป็นจุดชี้ขาดจำนวนผู้ใช้บริการ ซึ่งหมายถึงความสำเร็จในระยะยาวได้

นาทีการโทรออก” ซึ่งเคยเป็นประเด็นใหญ่ในอดีต กลายเป็นองค์ประกอบพิจารณาระดับรอง เพราะผู้ใช้ส่วนหนึ่งรู้ว่า อินเทอร์เน็ตเร็วนั้นช่วยเปิดช่องทางอีกมากมายที่มีความหมายในการติดต่อสื่อสารกันมากกว่าการโทรศัพท์

เมื่อนำข้อมูลในมิติต่าง ๆ ของการใช้งานเครือข่ายโทรคมนาคมของคนไทยมาแผ่ดู ก็พบได้ชัดเจนว่า คนไทยส่วนใหญ่ เปิดรับ ปรับตัว เข้าถึงการใช้งาน 4G ได้อย่างรวดเร็ว

 

จำนวนผู้ใช้บริการ

ข้อมูลจากผลประกอบการที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ตัวเลขผู้ใช้บริการรวมทั่วประเทศในปัจจุบันราว 90 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นจากช่วง 2 ปีก่อนราว 7 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็น AIS 40.1 ล้าน TrueMove H 26.7 ล้าน และ dtac 23.1 ล้านเลขหมาย

ที่น่าสนใจคือ เมื่อมาดูส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นปีต่อปี TrueMove H เป็นผู้ให้บริการที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มสูงสุด ทั้งเมื่อเทียบปี 2559 กับ 2558 และ เทียบ 2560 กับ 2559 โดยเพิ่มราว 5.4 ล้าน และ 4.1 ล้าน ตามลำดับ ในขณะที่ AIS อยู่อันดับ 2 ผู้ใช้เพิ่มขึ้นในปีแรก 2.5 ล้าน และปี 2 เพิ่ม 0.3 ล้าน (3 แสนราย) ส่วน dtac นั้น ยังคงมีผู้ใช้ลดลงต่อเนื่อง ปีแรกลด 0.7 ล้าน ปี 2 ลด 1.7 ล้าน

Screen Shot 2017-12-16 at 15.53.56.png

ในปีแรกนั้น อาจเป็นไปได้ว่า เกิดจากผู้ใช้มองหาและเชื่อมั่นในการประกาศเดินหน้าพัฒนาโครงข่าย 3G และ 4G อย่างจริงจังของ TrueMove H ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีคลื่นในมือครบย่านความถี่และปริมาณกว้างที่สุด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “มองที่ศักยภาพ”

จากนั้น ระยะเวลา 1 ปีที่มากพอสำหรับการ “พิสูจน์” ว่าเครือข่ายที่ใช้งานอยู่นั้นมีคุณภาพอย่างที่คาดหวังไว้หรือไม่ และผลจะแสดงออกมาในปีที่ 2 หาก “ผิดหวัง” ก็แน่นอนว่า ตัวเลขผู้ใช้ย่อมลดลง

แต่ผลที่ออกมาก็เห็นได้ชัดว่า จำนวนผู้ใช้ TrueMove H ยังเพิ่มขึ้นในอัตราสูงเด่นกว่าผู้ให้บริการรายอื่น

สถิตินี้สะท้อนและตอกย้ำชัดว่า ผู้ให้บริการที่ให้ความสำคัญกับการขยายโครงข่ายครอบคลุม มีคุณภาพสัญญาณที่ดีนั้นย่อมได้รับความวางใจจากผู้บริโภค ถึงขั้นว่าสามารถสร้างการพลิกผันสร้างการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งการตลาดมือถือในประเทศไทยที่มีมายาวนานก่อนหน้าการประมูลใบอนุญาตได้

 

ผลการวัดประเมินของบุคคลภายนอก

ข้อมูลอีกด้านที่ทำให้มั่นใจว่า คุณภาพโครงข่ายมีผลต่อการขับเคลื่อนผู้ใช้บริการคือ ผลการศึกษา สำรวจ ตรวจวัด จากสถาบัน หน่วยงาน หรือองค์กรภายนอก ที่เป็นบุคคลที่สาม เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วพิจารณามอบรางวัล

รางวัลเชิงคุณภาพ จาก Frost & Sullivan Asia-Pacific ที่ยกย่องให้ TrueMove H เป็นเครือข่าย 4G และผู้ให้บริการมือถือยอดเยี่ยมแห่งปี 2017 ในระดับเอเชียแปซิฟิก

รางวัล The Best 4G Performance จาก nPerf ซึ่งเข้ามาตรวจวัดคุณภาพ 4G ในประเทศไทยในหลากหลายมิติ

รวมทั้งผลการตรวจวัดล่าสุดจาก OpenSignal ที่สรุปออกมาค่อนข้างละเอียดว่า TrueMove H คือ ผู้นำโครงข่ายสื่อสารไร้สายที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นทั้งในด้านความเร็ว และ ความครอบคลุม

https://opensignal.com/reports/2017/11/thailand/state-of-the-mobile-network

report copy 3.jpg

“TrueMove H ชนะถึง 3 จาก 6 รางวัลของเรา ชี้ชัดเจนว่าเป็นค่ายมือถือที่โดดเด่นในด้านความเร็วและความครอบคลุม เราพบว่าผู้ใช้มี LTE ใช้มากกว่า 90% และพบว่ามีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงที่สุด”

ความเร็วดาวน์โหลด 4G ของ dtac อยู่ที่ 7.6 Mbps AIS ที่ 8.9 Mbps และ TrueMove ที่ 10.9 Mbps

“ในด้านความครอบคลุม TrueMove H นำผู้ให้บริการรายอื่นถึง 8%”

ข้อมูลนี้มาจากการทดสอบบนอุปกรณ์ 27,924 เครื่อง จำนวนมากกว่า 407 ล้านครั้ง ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2560

 

report copy 2.jpg

รายได้

ข้อมูลการจัดอันดับต่าง ๆ อาจจะมาพร้อมกับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะในทางสถิติแล้ว ทุกรายล้วนเก็บข้อมูลจาก “กลุ่มตัวอย่าง” ทั้งสิ้น

แต่จากข้อมูลผลประกอบการ ยังพบแนวทางที่สอดคล้องกันว่า การเติบโตของรายได้จากบริการในกลุ่ม Non-Voice (ซึ่งส่วนใหญ่คือการใช้เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่) เทียบ 2 ปีที่ผ่านมา TrueMove H ก็ยังอยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด

Screen Shot 2017-12-16 at 16.04.04.png

 

ก้าวต่อไปของ 4G ไทย ยังมีสิ่งท้าทายรออยู่

รายงานของ OpenSignal ข้างต้น ยังมีส่วนที่น่าสนใจ คือค่าเฉลี่ยความเร็ว 4G ทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 16.6Mbps ซึ่งคาดหวังได้ว่า ผู้ให้บริการมือถือจะพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะในด้านความเร็วที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ควรจะได้รับความเร็วเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น ตามเทคโนโลยีและความต้องการใช้งาน

3-4-5.jpg

นอกจากนั้น ยังต้องมองไปในอนาคต ถึงสิ่งที่จะต้องเตรียมรองรับกับความต้องการผู้ใช้งาน ซึ่งปี 2561 ไม่ว่าจะเป็นการก้าวสู่โครงข่าย 5G ที่ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่ายและผู้ผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่กำลังมุ่งไปอย่างเต็มที่  หรือจะเป็นเทคโนโลยีใกล้ตัว ในกลุ่ม Internet of Things ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะสื่อสารกันเองได้มากขึ้น

คนไทยมีโอกาสดีกว่าหลายประเทศ เราได้เข้าถึงการสื่อสารไร้สายที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพครอบคลุม ซึ่งเป็นบทบาทของผู้ให้บริการที่จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

แต่บทบาทของผู้ใช้เองทุกคนก็ต้องช่วยกันเรียนรู้ ยกระดับการใช้งานของตนเอง ให้สามารถดึงประโยชน์จากโครงข่ายคุณภาพเหล่านี้มาใช้ให้ได้เต็มที่ที่สุดเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.