ไล่ดูนวัตกรรมใหม่ ที่ถูกบรรจุใส่ในตู้เย็นรุ่นใหม่ ซึ่งเดินทางมาไกลจากคำว่า “แช่เย็น” มากแล้ว
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านกำลังถูกเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปฏิวัติให้มีประสิทธิภาพและผลิตผลในรูปแบบใหม่ ๆ ที่หลายคนอาจจะไม่ได้คาดคิด
หากติดตามข่าวเป็นประจำ ความใหม่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกหวือหวา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ไม่เหมือนมือถือที่คนส่วนใหญ่จะถูกกระแสสังคมกดดันให้เปลี่ยนรุ่นใหม่กันทุกปี แต่ละอย่าง (ที่ทน ๆ) ก็ใช้กันเป็นสิบปี ไม่ว่าจะโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า แอร์ หรือแม้แต่ตู้เย็น แม้ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดใหญ่เหล่านี้ บางชิ้นราคาถูกกว่ามือถือด้วยซ้ำ!
เป็นเรื่องดีที่เราไม่ใช้ทรัพยากรทิ้งขว้าง โดยเลือกซื้อของที่มีคุณภาพ ทนทาน และใช้งานมันจนสิ้นอายุ แต่นั่นก็ทำให้เมื่อเราหันหวนกลับมามองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้อีกครั้ง ปัจจัยให้พิจารณาเลือกซื้อมันมักจะเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย
อย่างเช่นเรื่องของ “ตู้เย็น” อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ในบ้าน ซึ่งเดี๋ยวนี้มีความ “ฉลาด” ทั้งภายนอก ภายใน ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์
แวะมาดูเว็บไซต์ ตู้เย็นของ LG จะพบว่ามีการแบ่งให้เลือกง่าย ๆ 4 ประเภท ตามจำนวนและลักษณะของ “ประตู”
- ตู้เย็นหลายประตู (Multi Door)
- ตู้เย็นประตูเปิดซ้ายขวา (Side-by-Side)
- ตู้เย็น 2 ประตู (Top Freezer และ Bottom Freezer)
- ตู้เย็น 1 ประตู
ถ้าจะให้เปรียบ ประตูตู้เย็น ก็เหมือนกับ หน้าจอของมือถือ ซึ่งทำหน้าที่เป็น User Interface ติดต่อกับผู้ใช้งาน เราต้องการหน้าจอหรือ Windows มากแค่ไหนอย่างไร ต้องการเปิดได้กี่แอปพร้อมกัน ต้องการรูปร่างขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน และอีกส่วนที่สำคัญคือ ความจุ อยากจุได้มากน้อยแค่ไหน ต่อจากนั้นก็เป็นดีไซน์
นั่นคือสิ่งที่เราต้องเลือก…ก่อนซื้อตู้เย็น
ตู้เย็นประตูเดียว ราคาเริ่มต้น 6,990 บาท 6.8 คิว
ก็จะเน้นเรื่องความกะทัดรัดและราคาประหยัด โดยมีความสามารถพื้นฐานคือใช้พื้นที่ภายในอย่างคุ้มค่า ช่องและชั้นมีขนาดใหญ่เต็มที่เพียงพอ ส่วนช่องแช่แข็งที่ไม่ได้แยกประตูออกไป ก็จะมีระบบละลายน้ำแข็งเกาะที่ใช้ง่าย มีถาดควบคุมความชุ่มชื้น Moist Balance Crisper ช่วยเก็บรักษาผักผลไม้สดให้ยาวนานขึ้น
คำว่า “คิว” ที่ใช้บอกความจุตู้เย็น วัดกันยังไง ?
“คิว” ที่พูดกันติดปากนี้ ย่อมาจาก cu.ft. หรือ Cubic Feet หรือ ft³ หรือ ลูกบาศก์ฟุต ซึ่งก็คือหน่วยปริมาตรภายในตู้เย็นที่คำนวณให้เป็นลูกบาศก์ฟุตตามหน่วยที่บางประเทศในตะวันตกใช้กัน หากจะเปลี่ยนเป็นลิตรแบบที่คนไทยพอจะนึกภาพออก ต้องเอาไปคูณ 28.31685 ครับ
1ft³= 28.31685L
1L= 0.03531467ft³
ตู้เย็น 2 ประตู ราคาเริ่มต้น 18,900 บาท 13.6 คิว
ขยายศักยภาพให้คุณและตู้เย็นทำอะไรได้เพิ่มขึ้นอีกเพียบ มีฟีเจอร์รายละเอียด ชั้นวางปรับได้ ระบบกระจายลมเย็นหลายทิศทาง ระบบไฟส่องส่ว่าง และระบบตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นแบบ Smart Diagnosis ใช้เทคนิคให้ตู้เย็นส่งเสียงสัญญาณให้ศูนย์บริการฟัง
นอกจากประตูแล้ว อย่าลืมมองหาเทคโนโลยีทำความเย็นภายใน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความแตกต่างคือ คอมเพรสเซอร์แนวนอนระบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่งโดดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงาน ในขณะที่ทำความเย็นได้มากขึ้น คงความสดของอาหาร และยังได้ประโยชน์ลดเสียงสั่นสะเทือน ทำงานเงียบขึ้น และ LG ยังรับประกันคอมเพรสเซอร์นานถึง 10 ปี
คุณ doraair อธิบายความแตกต่างของคอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ไว้ง่าย ๆ ในกระทู้ Pantip ว่า
“ตู้เย็นแบบธรรมดาพอมันทำงานได้อุณภูมิตามที่เราตั้งไว้แล้ว มันก็จะตัดไฟ พอความเย็นลดลงถึงระดับนึงมันก็จะเริ่มทำงานใหม่ ทำให้ความเย็นไม่คงที่ แต่การทำงานของ inverter คือ compressor จะทำงานตลอดเวลา เพียงแต่จะเพิ่ม หรือลดรอบการหมุน ทำให้ความเย็นที่ได้คงที่อยู่ตลอด”
[https://pantip.com/topic/30400969]
และที่ขาดไม่ได้คือการแก้ปัญหาสำคัญของตู้เย็น คือ ความสะอาดอนามัย ด้วยเทคโนโลยี Hygiene Fresh+ ที่มีระบบระบายอากาศและแผ่นกรองกำจัดเชื้อโรคและแบคทีเรีย 5 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าช่วยกำจัดกลิ่นได้ด้วย
ตู้เย็นประตูเปิดซ้ายขวา ราคาเริ่มต้น 49,900 บาท 18.9 คิว
จัดเก็บของมากมายได้เป็นระเบียบมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับบ้านหลังใหญ่ที่มีคนใช้งานร่วมกันจำนวนมาก และมาพร้อมความสามารถในการใช้ประโยชน์จากประตูตู้เย็นเป็นที่กดน้ำดื่ม และมากกว่านั้น ยังนำน้ำนั้นไปทำน้ำแข็งได้ด้วย ซึ่ง LG เลือกใช้ระบบเติมน้ำใส่แท็งก์ภายในตู้เย็น ไม่ต้องต่อท่อประปาเข้ามา
ตู้เย็นหลายประตู ราคาเริ่มต้น 44,900 บาท 22.1 คิว
นับเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมขั้นสูง โดยเฉพาะรุ่น GR-D24FBGHL ที่ได้รับรางวัลการออกแบบจากเวทีนานาชาติ และมาพร้อมความสามารถเด่น ๆ ดังที่กล่าวไปแล้วทั้งหมด แถมด้วยแนวคิดเก๋ ๆ “ประตูซ้อนประตู”
เพราะเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นหนึ่งในประเด็นหลัก แต่หลายครั้งพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เองต่างหาก ที่ทำให้ใช้พลังงานมากเกินจำเป็น เช่น การเปิดตูเย็นค้างไว้นาน ๆ (อาจจะเพื่อเลือกเมนูที่จะทำในค่ำนี้) หรือเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ LG จึงจัดนวัตกรรมที่ทำให้ทั้งความสะดวกและความประหยัดไปด้วยกันได้ คือ ทำซ้อนประตูกันไปเลย เปิดบานเล็กสำหรับอาหารที่หยิบประจำ เช่น เครื่องปรุง ส่วนบานใหญ่เปิดเพื่อหยิบวัตถุดิบทำอาหาร บานล่างจัดไว้ให้เด็ก ๆ เปิดหยิบเองได้ เป็นต้น
ในต่างประเทศ LG ยังออกตู้เย็นรุ่นย่อยภายใต้แนวคิดเดียวกัน แต่เรียกว่าเป็น Instaview Door-in-Door มีบางส่วนของประตูตู้ที่เป็นกระจกมองเห็นด้านในได้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีบางรุ่นที่รองรับการใช้งานกับแอปในมือถือ เช่น รายงานอุณหภูมิในช่องต่าง ๆ สั่งให้ทำน้ำแข็ง รายงานการตรวจสอบคุณภาพตัวกรองน้ำ เป็นต้น
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าคงคิดตรงกันว่า ตู้เย็นเครื่องต่อไปที่กำลังจะเลือกซื้อ อาจจะต้องคิดกันมากหน่อย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใหญ่เครื่องนี้ จะอยู่กับเราไปอีกนาน…นานจนโลกเปลี่ยนอีกครั้ง