Site icon YOWARE

ไทยขึ้นแท่นมีเครือข่าย NB-IoT พร้อมใช้แล้วทั่วประเทศ

#Advertorial

หลายคนกำลังตื่นเต้นกับคลื่นใหม่ ๆ สำหรับมือถือรุ่นใหม่ ๆ แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่น่าจับตา และมีแววจะตื่นเต้นยิ่งกว่า คือ คลื่นที่จัดสรรสำหรับอุปกรณ์เล็ก ๆ มากมายในอนาคต

 

หากเราใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกันมาถึงจุดหนึ่ง เราจะพบว่า “การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย” นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้วิถีชีวิต การทำงาน การติดต่อสื่อสารของเราเปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด

นับจากวันที่เรามีมือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง ชีวิตเราก็เข้าสู่การทำงาน การติดต่อสื่อสารในอีกยุค เราสนทนา ไลฟ์สด เสพสื่อ แบบความคมชัดสูง ได้จากทุกที่ทุกเวลา

แต่ในขณะนี้เราได้เดินทางมาถึงบานพับประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ที่ความสามารถในการเชื่อมต่อไร้สาย จะไม่ได้จำกัดอยู่ที่มนุษย์และโทรศัพท์มือถือ หรือถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีราคาสูงอีกต่อไป เพราะอุปกรณ์รอบตัวของเรา ก็กำลังจะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในแบบไร้สายได้เช่นกัน

 

บางคนนึกถึงว่า “อ้าว อุปกรณ์ต่าง ๆ มันก็เชื่อมต่อไร้สายได้ตั้งนานแล้ว กลอนประตู หลอดไฟ กล้องวงจรปิด ก็ต่อกับ Wi-Fi ที่บ้านนั่นไง…”

 

ใช่ครับ แต่นั่นก็เป็นเพียงช่วงเวลา “เปลี่ยนผ่าน” ถ้าเทียบง่าย ๆ ก็เหมือนการดูหนังจากแผ่น VCD ที่วันหนึ่ง เราก็ก้าวสู่ยุค DVD และ Streaming แบบ HD หรือ 4K ภายในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น

 

การที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกับ Wi-Fi ก็แปลว่า อุปกรณ์นั้นขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ (คนที่ใช้ iPad รุ่นที่มีแต่ Wi-Fi คงเข้าใจข้อนี้ดี) หากต้องการใช้ให้มันใช้งานได้ในขณะที่เคลื่อนที่ ก็ต้องใส่ “ซิม” เข้าไป

 

แต่การแค่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ใส่ซิมได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหาจนจบครับ เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นก็จะใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น ทั้งที่ตัวมันต้องการรับส่งข้อมูลแค่เล็ก ๆ แต่เชื่อมต่อเครือข่าย 3G 4G และเมื่อมีอุปกรณ์มากมายก่ายกอง ก็ทำให้อาจมาเบียดเบียนการใช้งานเครือข่ายสื่อสารของมนุษย์เราอีก

อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนามาตรฐานระดับโลก ก็มองเห็นแนวโน้ม และเตรียมทางแก้ไว้แล้ว

 

หากมีจักรยานวิ่งอยู่บนท้องถนนมากมาย ก็จัดระเบียบ สร้างช่องทางจักรยานไว้โดยเฉพาะ ไม่ต้องให้จักรยานไปขึ้นทางด่วน ซึ่งเสี่ยงอันตราย และ ทำให้รถคันอื่นต้องมาคอยชะลอหรือระวัง

 

นั่นคือภาพเปรียบเทียบที่พอจะใกล้เคียงของเทคโนโลยีที่ผมพาดหัวไว้ด้านบน นั่นคือ NB-IoT นั่นเองครับ

 

NB-IoT คือ มาตรฐานเทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อให้อุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ เชื่อมต่อได้เหมือนกับที่มือถือของเราที่เรียกว่าแทบจะโทรจากที่ไหนก็ได้

 

แก้ปัญหาที่ยกไปด้านบนได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับการรับส่งข้อมูลขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีพลังงานเหลือเฟือ ในบางอุปกรณ์ แบตเตอรี่ก้อนเดียวอยู่ได้ถึง 3 ปี

 

ซึ่งการใช้พลังงานอย่างประหยัดคุ้มค่า ยังเป็นผลดีต่อต้นทุนการบริหารจัดการด้วย เพราะเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนมากเข้า (เช่น เป็นเซนเซอร์วัดระดับน้ำทุกท่าน้ำทั่วประเทศ หรือ แค่เป็นกลอนประตูโรงแรมทุกห้อง) การจะต้องเดินทางไปเปลี่ยนถ่านบ่อย ๆ ก็เป็นต้นทุนรวมมหาศาล

 

[ อ่านตัวอย่างเทคโนโลยีเหล่านี้ได้จาก บทความที่ผมเดินทางไปสำรวจนวัตกรรมจากงาน TrueBusiness Forum ปีล่าสุด ]

 

เครือข่ายพร้อมแล้ว คุณพร้อมหรือยัง ?

 

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คิดว่า “อีกนาน กว่าเราจะได้ใช้”

 

คุณคิดผิดแล้วครับ… เพราะเครือข่าย NB-IoT มีให้ใช้จริงในประเทศไทยแล้ว และครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศในระดับ Nationwide อีกด้วย ซึ่งผู้ที่บุกเบิกขยายติดตั้งโครงข่าย NB-IoT ให้ใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ คือ TrueMove H

 

เว็บไซต์ GSMA หรือสหพันธ์ผู้ประกอบการโทรคมนาคมระดับโลก (ผู้จัดงาน Mobile World Congress ที่ยิ่งใหญ่) บรรจุ True Corporation เข้าไปอยู่ในแผนที่ Mobile IoT Deployment Map ซึ่งหมายความว่า ในประเทศไทยมีเครือข่าย NB-IoT ที่ใช้ได้จริงครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว (ก่อนอีกหลาย ๆ ประเทศ) โดย True เป็นผู้ให้บริการเจ้าแรก ในขณะนี้

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี หรือ ผู้บริโภคทั่วไป ที่สนใจก็สามารถเข้าไปศึกษาได้จากทั้งเว็บ GSMA เอง หรือ จะเข้าไปดูรายละเอียดกับชุมชน True IoT ซึ่งมีการเปิดรับสมัคร developer ร่วมมือกันพัฒนาแล้ว

 

แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาคธุรกิจ สมควรจะต้องจับตามอง และ พิจารณาว่า อุปกรณ์ในกลุ่ม IoT เหล่านี้จะเข้าไปเสริมประสิทธิภาพ สร้างประสิทธิผล ลดต้นทุน ในการขยายงานให้องค์กรของท่านได้อย่างไร

ไม่แน่ว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดยิ่งใหญ่ อาจจะเกิดขึ้นจาก เทคโนโลยีขนาดเล็ก ๆ เหล่านี้ก็ได้

 

 


True IoT : The Future is Real โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้ ติดตามข่าวสารไอโอทีจากทรูเพิ่มเติม www.trueiot.truecorp.co.th และ FB Fanpage : True IoT

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Exit mobile version