#Advertorial
มาทำความรู้จัก Relay หุ่นขนส่งอัตโนมัติจากจุดกำเนิดเมื่อครั้งเป็นสตาร์ทอัพ ที่ต้องพัฒนาไอเดียด้วยวิธีแบบ Google * ก่อนเจอตัวจริงที่นำเข้ามาในไทยแล้วโดยกลุ่มทรูผู้นำโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมใหม่สู่ชีวิตดิจิทัลอย่างแท้จริง
กลุ่มทรู เปิดตัวหุ่นยนต์ขนส่งอัตโนมัติ ที่กำลังจะเริ่มบุกเบิกพื้นที่โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ธุรกิจโลจิสติกส์และโรงงานผลิตในประเทศไทยแล้ว
นับเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการหุ่นยนต์บริการ หรือ Service Robot เมื่อ กลุ่มทรู ร่วมมือกับ Savioke นำหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า Relay มาให้บริการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
หุ่นยนต์ Relay มีศักยภาพสูง สามารถส่งสิ่งของต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ มีศักยภาพ ครบวงจร และช่วยลดต้นทุน ตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจได้
ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มทรูเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม โดยมีการนำหุ่นยนต์หลายรุ่นเข้ามาเพื่อยกระดับให้เกิดการเรียนรู้และใช้งานอย่างก้าวกระโดด และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่น่าจะเกิดผลดีแห่งการต่อยอด ทั้งทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรม
Relay เป็นหุ่นยนต์ขนส่งสิ่งของโดยอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับคน ในการส่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในพื้นที่ปิด ภายในหุ่นยนต์ประกอบด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ กล้อง และเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่ทำให้มันเดินทางในพื้นที่หลากหลาย หลบหลีกผู้คน และสิ่งของต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติและปลอดภัย และ Relay ยังเคลื่อนที่เร็ว ปลอดภัย ไม่ขาดตกบกพร่อง ขึ้นลิฟต์พร้อมกับคนได้เองอัตโนมัติ
การออกแบบ Relay มีแนวคิดและการทำงานให้เหมาะสมที่จะเป็นตัวเลือกสำหรับธุรกิจต่าง ๆ จะพิจารณานำไปใช้เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในยุคดิจิทัล เช่น
- สามารถเดินทางผ่านที่แคบ สิ่งกีดขวางต่างๆ หรือแม้แต่การโดยสารลิฟท์ Relay ก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติหุ่นยนต์ใช้งานได้ 24/7 เพราะมันจะกลับไปยังแท่นชาร์จเอง หรือถ้าใช้ต่อเนื่องไม่ชาร์จ มันจะทำงานได้นาน 4 ชั่วโมง
- แต่งกราฟิกให้เสริมกับบริการหรือแบรนด์ได้ ตั้งชื่อได้
- ธุรกิจที่มีศักยภาพ : โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนียมและอาคารสูง ธุรกิจโลจิสติกส์ และโรงงานผลิต
- บริการหลังการขายจากทรู 24/7
จะเห็นได้ว่า ในแง่มุมธุรกิจนั้น Relay ตอบโจทย์ได้อย่างครบวงจรในการให้บริการขนส่ง มีความปลอดภัย แม่นยำ ช่วยลดต้นทุนได้จริงในธุรกิจทีต้องมีการปฏิบัติงานตลอดเวลา และยังปรับแต่งให้เข้ากับธุรกิจได้โดยตรง โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้บริการหลังการขาย ตลอด 24 ชั่วโมง
รู้จักกับ Relay กันหน่อย
หลังทราบข่าว ก็ไปค้นรายละเอียดว่าหุ่นยนต์ตัวนี้เป็นใคร (เป็นอะไร) มาจากไหน ก็พบว่า “เฮ้ย เราเคยรู้จักกันมาก่อน!”
หุ่นยนต์ตัวนี้ถูกบันทึกประวัติศาสตร์เล่าถึงการกำเนิดธุรกิจไว้ในหนังสือชื่อ SPRINT: How to solve big problems and test new ideas in just five days
ย้อนไปเมื่อต้นปี 2017 ได้มีโอกาสไปร่วมการประชุมเวิร์กช็อปกับ Google ซึ่งเขาเลือกใช้วิธีการระดมความคิดในแบบที่เรียกว่า “Design Sprint” เป็นวิธีระดมสมองคิดงาน ที่ได้รับการยอมรับจากคนใน Google ว่าเป็นสิ่งที่สามารถขัดเกลาทดสอบไอเดียได้ดีที่สุด ภายในเวลาจำกัด
หลังกลับมา ผมรีบหาข้อมูลจนไปเจอเว็บไซต์และหนังสือ SPRINT: How to solve big problems and test new ideas in just five days ที่เขาได้บันทึกกรณีตัวอย่างการใช้ Design Sprint เอาไว้อย่างละเอียด
โดยบทแรกที่ผู้เขียน (ซึ่งเป็นผู้ร่วมคิดค้น Design Sprint) ได้เล่าคือ เหตุการณ์เมื่อครั้งผู้สร้างหุ่นยนต์ Relay ตัวนี้ กำลังจะเปิดตัวสู่ตลาดโรงแรมเป็นครั้งแรก ภายใต้การดูแลของ Google Ventures บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจ
กว่าจะเป็นหุ่นยนต์ Relay
พฤษภาคม 2014 สตาร์ทอัพชื่อ Savioke Labs (อ่านว่า แซฟวี่โอ๊ก) คือบริษัทล่าสุดที่ Google Ventures เข้าไปลงทุน ซึ่งผู้ก่อตั้งของบริษัทนี้คือคุณ Steve Cousins กำลังจะแนะนำให้ทีมที่ปรึกษาจาก Google เข้ามาเรียนรู้จักสิ่งที่บริษัทนี้มีหน้าที่จะต้องเปลี่ยนเงินลงทุนให้เป็นผลสำเร็จ
“นี่คือหุ่นยนต์ Relay”
เขาแนะนำว่าเจ้าหุ่นยนต์รูปทรงเหมือนถังขยะขนาดใหญ่ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานบริการในโรงแรม มันไปไหนมาไหนเองได้ ขึ้นลงลิฟต์เอง และนำพาข้าวของเครื่องใช้ อย่างแปรงสีฟัน ผ้าขนหนู ขนมขบเคี้ยวไปส่งให้ที่ห้องพัก
วิศวกรและนักออกแบบระดับโลกที่มีความคุ้นเคยกับการออกแบบหุ่นยนต์ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยใจปรารถนาจะทำให้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในร้านอาหาร โรงพยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ และอื่น ๆ
“สตีฟตัดสินใจเลือกเริ่มต้นกับโรงแรมก่อน เพราะมันเป็นงานซ้ำเดิม แต่ไม่ซับซ้อน ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ “ชั่วโมงเร่งด่วน” (rush hour) เช้า กับ ค่ำ ที่การเช็กอิน เช็กเอาต์ หรือ การส่งของไปตามห้องพักถาโถมเข้ามายังเคาน์เตอร์โรงแรม นั่นคือโอกาสที่ดีที่สุดที่หุ่นยนต์จะเข้าไปช่วยเหลือ” ผู้เขียนบรรยายไว้ในหนังสือ
ในขณะนั้น เจ้าหุ่นยนต์ Relay กำลังจะถึงเวลาสำคัญ เพราะอีก 1 เดือน มันจะต้องเข้าไปปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์แบบในโรงแรม ให้บริการจริง กับ แขกที่เข้าพักจริง ๆ …
แต่ทว่า มีปัญหาอยู่ข้อเดียว…
สตีฟและทีมงานคิดว่า แขกที่เข้าพักโรงแรมอาจจะไม่ชอบบริการด้วยหุ่นยนต์แบบนี้ก็ได้ และยิ่งไปกว่านั้น ทำให้แขกผวาตกใจกลัวไปเลย
แม้ว่าหุ่นยนต์จะเป็นสุดยอดเทคโนโลยี แต่ผู้สร้างอย่างสตีฟและทีมงานกลับไม่แน่ใจว่า มันควรจะ “ทำตัว” อย่างไรกับผู้คนรอบข้าง
มีคำถามมากมายเกิดขึ้น หรือว่าเขาจะต้องทำให้หุ่นยนต์ดูเป็นมิตร ควรจะให้หุ่นยนต์สื่อสารกับแขกด้วยไหม บุคลิกภาพแบบไหนคือเยอะเกินไป หรือแม้แต่การขึ้นลิฟต์ร่วมกับมนุษย์
คำถามมากมายและท้าทายเหล่านี้ทำให้เหล่าทีมผู้สร้าง Relay ต้องมาใช้เวลา 5 วันร่วมกันในการทำ Design Sprint ร่วมกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญ สร้างตัวต้นแบบ จำลองการบริการในโรงแรมจริง ๆ ด้วยหุ่นยนต์ โดยมุ่งที่จะตอบคำถามข้อเดียว คือ “หุ่นยนต์ตัวนี้ควรจะปฏิบัติกับมนุษย์อย่างไร ?”
ทีมผู้สร้างตั้งใจกันมากเพื่อให้หุ่นยนต์ตัวนี้เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้บริการ ทำยังไงให้แขกพึงพอใจในการเข้าพัก ซึ่งส่งผลดีต่อโรงแรม ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่จะต้องนำร่อง ถ้าโรงแรมแรกเห็นผล ยอดสั่งจอง Relay ก็จะเพิ่มขึ้นตามมาอีกแน่
เขาคิดกันละเอียดถึงขั้นว่า ทำแผนที่จุดสำคัญต่าง ๆ ที่แขกกับหุ่นยนต์จะต้องพบกัน ไม่ว่าจะเป็น ความประทับใจแรกพบ การส่งแปรงสีฟันให้แขก หรือการทำให้แขกประทับใจในตัวหุ่นยนต์ รวมไปถึงตลอดเส้นทางที่หุ่นยนต์ตัวนี้จะต้องพบเจอกับผู้คนในล็อบบี้ ในลิฟต์ ทางเดิน และอื่น ๆ แต่ละขั้นตอนจะต้องทำอย่างไร
อีกประเด็นหนึ่งคือการคาดหวังที่สูงเกินไป “เราโดนสปอยล์ด้วยบรรดาหุ่นยนต์ในภาพยนตร์” สตีฟชี้ว่า หลายคนคิดว่าหุ่นยนต์มีความรู้สึกนึกคิด วางแผน คาดหวัง ใฝ่ฝันได้ แน่นอนว่า ถ้าแขกผู้เข้าพัก คิดว่าเป็นแบบนั้น แล้วพูดคุยกับหุ่นยนต์ แล้วหุ่นยนต์ไม่ตอบโต้แบบที่เห็นในหนัง นั่นก็ทำให้ผู้คนผิดหวัง
ในวันที่ 5หลังจากเคี่ยวกรำพัฒนาไอเดียกันมาพวกเขาก็ได้นำหุ่นยนต์ตัวนี้ไปทดลองจริงในโรงแรมแห่งหนึ่งแถวเมืองคูเปอร์ติโน ย่านซิลิคอนวัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียนั่นเอง
“โอ้ว! หุ่นยนต์” หญิงสาวผู้เข้าพักอุทานออกมา เธอไม่รู้ว่ากำลังจะเจอหุ่นยนต์รออยู่ที่หน้าประตู ไม่นานหลังจากที่เธอโทรไปขอแปรงสีฟันจากเคาน์เตอร์โรงแรม
เธอหยิบแปรงสีฟัน จากนั้นหุ่นยนต์ส่งเสียง “ติ๊ง” เมื่อหญิงสาวกดปุ่มยืนยันการได้รับของแล้ว เธอกดรีวิว 5 ดาวที่หุ่นยนต์ แล้วหุ่นยนต์ก็แสดงออกอาการดีใจ ด้วยการหมุนไปมา
“คูลมากค่ะ!” “ถ้าพวกเขาใช้หุ่นนี่ ฉันจะมาพักที่นี่ทุกครั้งเลย” ในวิดีโอที่บันทึกไว้ เธอยังยิ้มอย่างพึงพอใจ โดยไม่มีความหวาดกลัวแม้แต่น้อย
เสียงเฮดีใจดังขึ้นจากอีกห้องหนึ่งที่เฝ้าดูการถ่ายทอดสดประสบการณ์ครั้งนั้น ซึ่งไม่ใช่แค่หญิงสาวคนนั้น แต่ผู้เข้าพักรายแล้วรายเล่าในวันนั้น ต่างแสดงอาการพึงพอใจในลักษณะเดียวกัน พวกเขาตื่นเต้นเมื่อได้เห็นหุ่นยนต์ครั้งแรก ไม่มีปัญหาใด ๆ ในการหยิบแปรงสีฟันจากหุ่นยนต์ หรือการกดปุ่มยืนยันที่หน้าจอ รวมทั้งการส่งหุ่นยนต์กลับไป
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังต้องการโทรไปเรียกให้หุ่นยนต์เอาอย่างอื่นมาส่งเพิ่มเพียงเพื่อที่จะได้พบหน้ามันอีกครั้ง!
บางคนก็ถ่ายเซลฟี่กับหุ่นยนต์ด้วย โดยที่ไม่มีสักคนเดียวที่พยายามจะปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ด้วยบทสนทนาใด ๆ
พวกเขาเรียนรู้ว่า การทำให้หุ่นยนต์มีบุคลิกภาพบางอย่าง อาจจะเป็นเคล็ดลับของการเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้เข้าพักในโรงแรมได้
ท้ายที่สุด หลังหมดไป 5 วันเต็มๆ กับวิธีที่ Google เรียกกันว่า Design Sprint แต่ทีมงานก็ได้รับสิ่งที่คุ้มค่า นั่นคือ การพิสูจน์ไอเดียว่า หุ่นยนต์ของพวกเขาพร้อมแล้วที่จะไปโลดแล่นให้บริการในโรงแรมจริง ๆ
สามสัปดาห์ถัดมา ถึงกำหนดที่ Relayจะต้องเริ่มทำหน้าที่พนักงานโรงแรมอย่างเต็มตัว ปรากฏว่า Relay กลายเป็นประเด็นข่าวฮิตบนสื่อยักษ์ใหญ่ และทำให้มีพื้นที่ออกสื่อส่งไปถึงผู้คนได้อีกถึง 1 พันล้านครั้งในเดือนแรก
แต่เหนือสิ่งอื่นใด แขกผู้ใช้บริการโดยตรงหลงรักมัน ผลคือ ไม่กี่เดือนถัดมาบริษัทแห่งนี้มียอดสั่งจองหุ่นยนต์ Relay เพิ่มขึ้น จากบรรดาโรงแรมที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจผ่านเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้
ถึงเวลาที่หุ่นยนต์ตัวนี้จะเข้าประเทศไทย โดย กลุ่มทรู ผู้นำด้านนวัตกรรม ซึ่งน่าจะทำให้วงการธุรกิจบริการที่กำลังมองหานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ เพื่อขยายธุรกิจได้คำตอบที่แน่ชัดและเชื่อมั่นได้
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์ใหม่ของงานบริการ ที่จะมีหุ่นยนต์มาช่วยเสริมเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้า เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและธุรกิจได้อย่างแท้จริง
True IoT : The Future is Real. โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้ ติดตามข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับ Relay ได้ที่ http://trueiot.truecorp.co.th/ หรือโทร 1239