#Advertorial
เมื่อ “กสิกรไทย” รุกปั้นแบรนด์ให้แก่ machine ที่กำลังจะกลายร่างจากเครื่องจักรไฮเทคเป็น “บุคคล” ที่มุ่งหมายจะ “รู้จัก–รู้ใจ” ลูกค้าให้ได้มากที่สุด
“เรามี data scientist 40 คน ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักทั้งกลางวันทั้งกลางคืน”
คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ประกาศบนเวทีการแถลงข่าวครั้งสำคัญภายใต้แบรนด์ “กสิกรไทย”
เช้านี้ KBTG ในเครือกสิกรไทยกำลังมีงานแถลงใหญ่ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ชื่อว่า “เกด”#KADE #เกด pic.twitter.com/ORlcW6InLm
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
หลายปีก่อน คงไม่มีใครคาดคิดว่าธนาคารหรือสถาบันการเงิน จำเป็นจะต้องก้าวเข้ามาทำหน้าที่เป็น “ผู้สร้าง” จากเดิมที่เพียงทำหน้าที่ “ผู้ให้บริการ” โดยมีบุคลากรในตำแหน่ง “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” จำนวนกลุ่มใหญ่
“…และเรายังต้องการเพิ่มอีกให้ถึง 100 คน” คุณสมคิดย้ำ
แน่นอนว่าเครื่องมือทันสมัยไฮเทคอย่างคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถูกนำมาปรับใช้ยกระดับในธุรกิจการธนาคารเป็นลำดับต้น ๆ
“สมคิด จิรานันตรัตน์” ประธานกสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ #KBTG
ขึ้นเกริ่นว่า กสิกรไทย ผลักดันเดินหน้าเทคโนโลยีทางการเงินล้ำยุคมาอย่างต่อเนื่อง
เช่นปีก่อน เอาบล็อกเชนมาทำ LC รายแรกในโลก หรือการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ลูกค้า pic.twitter.com/Ny6crljb6A
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
บางท่านอาจจะจำการเปลี่ยนแปลงได้ ในยุคหนึ่งเมื่อเทคโนโลยีและเครือข่ายการสื่อสารมีความพร้อม ตู้เอทีเอ็มก็กลายเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ปฏิวัติวิถีชีวิตของผู้คนมากมาย แต่ในอีกมุมหนึ่ง สำหรับธนาคารแล้ว ก็คงจะเน้นอยู่ในฟากของ “ผู้ซื้อ” เทคโนโลยีเหล่านั้นมาเปิดให้บริการเป็นหลัก แต่สิ่งที่ KBTG ได้ทำมาหลายปี และได้ประกาศออกมานั้น เป็นสัญญาณที่เป็นรูปธรรมว่า ธนาคารในยุคดิจิทัล กำลังจะเปลี่ยนจากเพียง “ผู้ให้บริการ” เป็น “ผู้สร้างผลิตภัณฑ์” ด้วย
3 นวัตกรรมหลักของ #KBTG ที่ยกมากล่าวถึงวันนี้ คือ
KPlus beacon – เพื่อช่วยคนตาบอด
Machine Commerce – ใช้คอมพ์หาลูกค้าใหม่ให้สินค้า
Machine Lending – ใช้คอมพ์วิเคราะห์หาผู้กู้#FromDigitaltoIntelligence pic.twitter.com/d14hTWfC2S— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
และยังเป็นอีกหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่า การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สั่นสะเทือนโลกได้ในยุคดิจิทัลนี้ สามารถเริ่มต้นได้ที่ประเทศไทย โดยคนไทย!
ย่อมาจาก
K PLUS AI-DRIVEN EXPERIENCE
นวัตกรรมทางการเงินที่เข้าใจ เข้าถึงความต้องการของลูกค้าในทุกด้านทุกระดับ ทุกที่ ทุกเวลา
โดยใช้ AI และ Machine Learning เป็นฐาน pic.twitter.com/tbPPnsY4RF
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
ในบรรยากาศที่คราคร่ำด้วยสื่อชั้นนำของประเทศไทย “เธอ” คือนางเอกของงาน ชื่อของ “เกด” คือสิ่งหลักสิ่งเดียวที่บริษัทเทคโนโลยีที่มีฐานทางการเงินรายใหญ่แห่งนี้อยากจะบอกกับเรา
“เหมือนกับ เกศสุรางค์ ในร่าง การะเกด ที่เข้ามาแล้วทำให้ชีวิตของการะเกดดีขึ้น”#เกด จาก #KBTG ก็จะเข้ามาเป็นเหมือนอีกคนหนึ่งที่อยู่ข้าง ๆ รู้จัก รู้ใจ และเข้าใจลูกค้า pic.twitter.com/sYzhHlKrrb
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
โลโก้ของ #เกด #KADE มีทั้ง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ นะ มองเห็นไหม ?#KBTG เปิดตัว เกด
พร้อมสโลแกน #รู้ใจRightNow
ตั้งเป้าเปิดบริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป ภายในสิ้นปี 2018 pic.twitter.com/DBp1DdCkcI
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
“K PLUS AI-Driven Experience” คือคำเต็มอันเป็นที่มาของชื่อ KADE หรือที่เรียกว่า “ชุดของประสบการณ์” รูปแบบใหม่ที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นคำตอบของบริการทางการเงินแห่งอนาคต ที่กำลังจะเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน
ชื่อเต็มของ “เกด” บ่งบอกชัดว่า อะไรคือขุมพลังที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง
งานคับคั่งไปด้วยสื่อที่ให้ความสนใจทั้งด้านเศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี
ภายใต้งานชื่อ #fromDigitaltoIntelligence#KBTG #KADE pic.twitter.com/LJnutL3Egf
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
“ปัญญาประดิษฐ์ จะขับเคลื่อนทุกบริการ ทุกผลิตภัณฑ์ของ K PLUS ทำให้เป็นบริการทางการเงินอันชาญฉลาด ภายใต้แนวคิด from Digital to Intelligence” ประธาน KBTG อธิบาย พร้อมทั้งยังยกตัวอย่างให้เห็นว่า ปัญญาประดิษฐ์มาทำให้บริการของธนาคารที่ทุกคนรู้จัก เปลี่ยนแปลงไปได้มาก และ ดีขึ้นขนาดไหน โดยเฉพาะการอยู่ในบทบาทที่มนุษย์ไม่เคยทำได้มาก่อน
#KADE เกด ประกอบด้วย เทคโนโลยีความฉลาด 3 ด้าน คือ
Design Intelligence – ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
Service Intelligence – สร้างบริการที่ตอบโจทย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์
Machine Intelligence – กลไกความฉลาดสร้างบริการทางการเงินผ่าน AI#KBTG #FromDigitaltoIntelligence pic.twitter.com/hKmLktoHJq
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
“เกด” ปล่อยกู้
ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและใกล้ตัวคนส่วนใหญ่ คือ Machine Lending หรือ “เครื่องปล่อยกู้” (KBTG ไม่ได้ใช้ภาษาไทยคำนี้ แต่ผมขอเรียกให้เข้าใจง่ายแบบนี้แหละ)
เป็นที่ทราบกันดีว่า การกู้ยืมเงิน หรือ ขอสินเชื่อในปัจจุบัน แม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การขอกู้และการอนุมัติให้กู้ทำได้ง่ายและเร็วมากเพียงใด แต่ก็ต้องเข้าใจว่า คนที่อยากกู้อีกจำนวนมาก จะพบกับคำว่า “ไม่อนุมัติ” ได้รวดเร็วเฉกเช่นเดียวกัน
สาเหตุหนึ่งคือ “วิธีคิด” แบบดั้งเดิม (ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน) ในการให้สินเชื่อนั้น สถาบันการเงินจะต้องประเมินให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีโอกาสจ่ายคืนครบทั้งต้นและดอกภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งการประเมินเหล่านี้จะทำโดยเจ้าหน้าที่ ด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยประเด็นพึงพิจารณาต่าง ๆ ราว 40 ข้อ แต่แม้จะมีเครื่องมือเหล่านี้แล้ว “หนี้เสีย หนี้สูญ” ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
“หนี้สูญ กับ สินเชื่อ เป็นของคู่กัน ที่เราจะต้องประเมินและพิจารณาอยู่แล้ว” คุณสมคิด ตอบสื่อที่ถามว่า การเอาหุ่นยนต์มาประเมินให้กู้ แทนมนุษย์ มันจะไว้ใจได้ ไม่ก่อหนี้เสียมากไปกันใหญ่หรือ ?
บรรยากาศการเปิดตัว 3 แม่ทัพหลักของ #KADE #เกด #KBTG pic.twitter.com/X9BNQEB56C
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม หนึ่งในสามแม่ทัพหลักของ KADE อธิบายเสริมให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาประเมินสินเชื่อ คอมพิวเตอร์จะมีความสามารถที่เหนือกว่าคนในการวิเคราะห์ไขว้ข้อมูลปริมาณมหาศาล จนทำให้ผลการประเมินสุดท้าย ค่อนข้างจะต่างไปจากการประเมินด้วยคน “ในจีนมีการประเมินสินเชื่อด้วยแมชชีน ซึ่งมีการวิเคราะห์กว่า 700 พารามิเตอร์ ในขณะที่ถ้าเป็นการพิจารณาโดยคน เราจะประเมินจากแค่ 40 พารามิเตอร์ และทำให้มีคนอีกจำนวนมากเสียโอกาสไป”
“ไม่ใช่เรื่องแม่นหรือไม่แม่น แต่จะทำให้มีกลุ่มคนที่ไม่เคยกู้ได้ จะกู้ได้มากขึ้น เช่น กลุ่มฟรีแลนซ์ที่ไม่มีข้อมูลบันทึกเส้นทางทางการเงินที่มากพอ”
“และไม่แน่ว่า ในการประเมินให้สินเชื่อด้วยแมชชีน อาจจะทำให้หนี้เสียลดน้อยลงกว่าเดิมก็ได้” คุณสมคิดระบุ
แล้วหุ่นยนต์จะปล่อยกู้ได้อย่างไร ?
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ที่ KBTG กำลังซุ่มสร้างอยู่นี้ จะใช้ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล ซึ่งเดิมเคยปล่อยร้างในกล่องเก็บเอกสารรอทำลาย มาถลุงใหม่ให้เป็นอัญมณีที่มีค่า …และเป็นลูกแก้วทำนายที่มหัศจรรย์ พูดให้ง่าย อธิบายให้ชัดขึ้นก็คือ ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าแต่ละคน จะนำมาผ่านเข้าสู่การประมวลคิดพิจารณาซ้ำว่า ข้อมูลเหล่านั้น มันบ่งชี้อะไรได้อีกบ้าง และธนาคารจะนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้ารายนั้นได้อย่างไร
#KBTG ยืนยันดูแล ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า ใช้เฉพาะเพื่อให้บริการกับลูกค้าแต่ละรายเท่านั้น
“ความเป็นส่วนตัวก็สำคัญ แต่ถ้าเราไม่รู้ข้อมูล เราจะให้บริการได้ดีขึ้นไม่ได้ เป็นสิ่งที่ลูกค้าจะ trade-off เพื่อรับบริการที่ดีขึ้น”#เกด #KADE pic.twitter.com/Xg9DAvRZl7
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
หรือถ้ามองอีกมิติ ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะบ่งชี้ว่า ธนาคารควรจะเปิดบริการอะไรใหม่ขึ้นมาเป็นการเฉพาะก็เป็นได้
#KBTG อธิบายว่า ในวันนี้ #KADE จะทำงานอยู่เบื้องหลัง แต่ในเร็ว ๆ นี้ ลูกค้าจะคุยกับ #เกด ได้ ผ่านแอป K PLUS
และ #เกด เองก็จะมีวิธีการนำเสนอสิ่ฃที่คิดว่าลูกค้าจะต้องการให้ โดยระมัดระวังไม่ให้เป็นการรบกวนลูกค้ามากเกินไป pic.twitter.com/dziQ42NOPM
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
การปล่อยกู้ให้สินเชื่อ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ KBTG เลือกมา “ปั้น” ก่อน โดยความสามารถของระบบ Machine Intelligence จะเข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลหาคำตอบเพียง 2 ประเด็นหลัก
-
- ใครบ้างที่มีเครดิตดีน่าเชื่อถือสำหรับการให้สินเชื่อ ? รูปแบบการประเมินแบบใหม่ทำให้มีผู้ที่มีความสามารถในการชำระคืนสินเชื่ออาจเพิ่มจำนวนขึ้น ระบบจะเข้าไปวิเคราะห์จากรายได้ รายจ่าย เงินออม เงินลงทุน ในบัญชี K PLUS รวมไปถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล ทำให้ได้คนกลุ่มหนึ่งที่ธนาคารวางใจได้ว่า ให้สินเชื่อที่เหมาะสมไปแล้วจะได้คืน
-
- เมื่อได้กลุ่มแรกมาแล้วจำนวนหนึ่ง ระบบก็จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์อีกว่า บุคคลเหล่านี้คนใดมีโอกาสที่ต้องการจะขอสินเชื่อบ้าง จำนวนเงินเท่าใด จากนั้นระบบก็จะทำการติดต่อไปยื่นข้อเสนอที่คาดว่าตรงกับความต้องการ
“เราพยายามที่จะไม่รบกวนลูกค้า และ ระบบของเราจะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ในการประเมิน” ผู้บริหาร KBTG ระบุ
ยกตัวอย่าง Machine Lending ใช้คอมพ์ปล่อยสินเชื่อ#KADE จะดำเนินการ 2 ขั้นตอน
1 วิเคราะห์เครดิตลูกค้า จากข้อมูลทั้งหมดที่มี รวมทั้งพฤติกรรมจากธุรกรรม
2 เสนอให้กู้ (ก่อนร้องขอ) โดยเดาว่า สินเชื่อจะช่วยให้ธุรกิจลูกค้ารายนั้นดีขึ้น#KBTG #เกด pic.twitter.com/bV1VsAX5Yu
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
ข้อมูลธุรกรรมในบัญชีที่ผ่านการวิเคราะห์โดย KADE ยังบอกได้ว่า “กิจการ” ของคุณเป็นอย่างไร ? “บัญชีร้านของคุณมีเงินโอนเข้ามากเข้าบ่อย นั่นก็แสดงว่าคุณขายดี ก็มีโอกาสที่เราจะไปเสนอสินเชื่อให้ขยายกิจการ”
“เกด” คือ คำตอบ
การมีบริการชาญฉลาดมากมาย ก็ยังคงเป็นเพียงชุดของบริการ แต่ยังไม่สามารถครองใจลูกค้าได้ คุณสมคิดบอกว่า แค่ฟังก์ชั่นไม่ใช่คำตอบระยะยาว แต่จะต้องสร้างความเชื่อถือไว้วางใจจากลูกค้าให้ได้ เพื่อประกันความสำเร็จ
การตอบโจทย์ลูกค้าต้อง เข้าใจลูกค้ามากกว่าการแค่มีเทคโนโลยีซึ่งใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น
หนทางที่จะทำให้ได้รับชัยชนะ คือ ครองใจลูกค้า
– คุณสมคิด #KBTG กล่าวในงาน #FromDigitaltoIntelligence pic.twitter.com/H8omer5STI
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
นั่นเป็นเหตุให้ KBTG ต้องจัดงานใหญ่ แถลงเปิดตัวความเป็น “บุคคล” ภายใต้ชื่อที่คุ้นหูคนไทยอย่าง “เกด” KADE จองที่ความเป็นบุคคลที่จะมาเป็นบุคคลใหม่ที่จะให้บริการทางการเงินที่ตรงใจเราที่สุด ดังสโลแกนที่ว่า #รู้ใจRightNow
[ KADE VALUES ]
#KBTG จะบุกสู่ดิจิทัลเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนที่เรียกว่า “unbanked” หรือคนที่ยังไม่เข้าถึงบริการทางการเงิน
ด้วยจุดมุ่งหมายหนึ่งคือทำให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างถ้วนทั่ว#FromDigitaltoIntelligence pic.twitter.com/NQEFLaQsak
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
แม้ KADE ยังไม่มีอะไรที่มองเห็นและจับต้องได้ตอนนี้ แต่ก็เหมือนกับการที่ KBTG ประกาศให้ทราบว่า สิ่งใหม่ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว และอีกไม่นาน KADE จะเข้ามาเปลี่ยนทุกสิ่งของกสิกรไทย เริ่มจากโฉมใหม่ของ K PLUS ไปจนถึงวิถีชีวิตทางการเงินของลูกค้า K PLUS
เปิดฉากธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคต
ปัญญาประดิษฐ์ และ ข้อมูลมากมาย สามารถนำมาปรับทำให้กลายเป็นกุญแจสำคัญของบริการธนาคารในอนาคตได้ และ KBTG กำลังเดินหน้าเต็มกำลังบุกเบิก ด้วยขุนพลระดับแนวหน้าของวงการ
ผู้บริหาร #KBTG เผยเดินหน้าเต็มตัว มีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลแล้ว 40 คน ทุ่มสร้าง #เกด ให้พร้อมให้บริการได้ภายในปีนี้
“ภายใน 3 ปีข้างหน้า #KADE จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ K PLUS เป็น digital bank ได้อย่างแท้จริง”#FromDigitaltoIntelligence pic.twitter.com/N2U4utuiZs
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018
KADE ทำให้ธนาคารออนไลน์มีบริการอะไรแปลกใหม่อย่างที่เราไม่คิดว่าธนาคารจะทำ แม้แต่การวิเคราะห์จับคู่ลูกค้าและผู้ค้า ผ่านเพียงแพลตฟอร์มดิจิทัลบนฐานสมาชิก K PLUS ซึ่งมีกว่า 8 ล้านราย และตั้งเป้าจะขยายสู่ 20 ล้านภายใน 5 ปี KADE จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ให้ลูกค้าได้ใช้ได้จับกันในช่วงปลายปี 2561 นี้ “ไม่อยากโฟกัสเมืองไทย แต่เราจะไประดับภูมิภาค เชื่อว่าตอนนี้เราใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในมุมของลูกค้า mobile” คุณสมคิดย้ำว่า KADE คือ สิ่งสำคัญที่จะพาไปสู่มิติของธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคตได้จริง
“ไม่แน่หรอกว่า นี่อาจจะไม่ใช่แค่ธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ แต่ต้องมองว่า ในอนาคตธนาคาร อาจจะไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ก็ได้”
มีคำถามจาก @iPhonemods ว่า #KADE และเหล่าบรรดาแมชชีนทางการเงิน จะมาเปลี่ยนแปลงการจ้างงานอย่างไร ?
ผู้บริหาร #KBTG บอกว่า ตอบคำถามนี้มีแต่เจ๊ากับเจ๊ง แต่แน่นอนว่า #เกด และความเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการสร้างงานใหม่ด้วย
เหมือน Apple ก็ยังต้องมีหน้าร้าน
อีกไม่นานก็จะมีตึกชื่อ K PLUS pic.twitter.com/Nz12eB8Sj5
— YO•WARE (@yoware) March 13, 2018