เชื่อลึก ๆ ว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ติดตามสถานการณ์จากข่าวน้ำท่วมในช่วงนี้ครับ เลยรวบรวมข้อความทวีตที่เกี่ยวๆ มาให้อ่านกันจ้ะ
- คนกรุงที่ผ่านเจ้าพระยา ถ้าเห็นน้ำแรงแรงแดงแดง นั่นแหละ “น้ำเหนือ”
- น้ำเหนือ น้ำฝน น้ำหนุน ถ้ามาทีละอย่าง กทม.ไม่กลัว แต่ส่วนใหญ่นัดกันมา…
- ลำน้ำเจ้าพระยาแต่ละจุด ลึกไม่เท่ากัน ตลิ่งก็สูงไม่เท่ากัน รองรับน้ำไหลผ่านได้ไม่เท่ากัน กทม.รับได้ 3,000 แต่รู้สึกจะลงมาเกินนิดนิด
- “ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที” คือหน่วยของปริมาณน้ำไหลผ่าน เพราะเป็น ปริมาตร/เวลา ไม่ใช่ความเร็วของน้ำ เพราะความเร็วจะต้องเป็น ระยะทาง/เวลา
ทวีตเรื่องน้ำท่วมจากประสบการณ์ (ทวีตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2553)
- ศัพท์เทคนิคในข่าวน้ำท่วมที่จะได้ยินบ่อยจากนี้คือ “ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที” เป็นหน่วยปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน ณ จุดหนึ่งในช่วงเวลา 1 วินาที
- พูดว่า น้ำไหลผ่าน 1 ลบ.ม.ต่อวินาที นึกภาพแทงก์น้ำขนาด 1 x 1 x 1 เมตร วิ่งผ่านจุดที่คุณยืนในเวลา 1 วินาที
- ตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในแต่ละพื้นที่จะมีความสูงแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้แต่ละที่รองรับปริมาณน้ำไหลผ่านได้ไม่เท่ากัน
- ความสูงทั้งของตลิ่งและระดับน้ำ มีหน่วยเป็น เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ถ้าตลิ่งสูงกว่า แสดงว่าน้ำยังไม่ล้นมาท่วม
- ตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่นครสวรรค์ รับปริมาณน้ำไหลผ่านได้ 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่น้ำท่วมเมื่อปี 2549 มีน้ำไหลผ่านเกิน 6,000!
- แม้น้ำจะไหลลงมาต่อเนื่อง แต่เรามองมันเป็น “ก้อน” ได้ เช่น ก้อนที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จะมาถึงกรุงเทพฯ ใน 2-3 วัน
- จากปิง-วัง-ยม-น่าน รวมสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่นครสวรรค์ ไปสู่อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพฯ ลงอ่าวไทย
- กรมชลฯ ต้องจัดการน้ำด้วยเขื่อน/ประตูน้ำ เพื่อให้ก้อนน้ำที่ไหลผ่าน กทม.เหลือไม่เกินราว 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ตามที่คันกั้นน้ำ กทม.จะรับไหว
- น้ำเจ้าพระยาบางส่วนถูกแบ่งส่งออกฝั่งตะวันตกไปลงแม่น้ำท่าจีน บางส่วนไปแม่น้ำป่าสัก บางส่วนชะลอที่เขื่อนเจ้าพระยา
- น้ำส่วนที่เกินการบริหารจัดการ ก็จะจำต้องปล่อยให้ไหลผ่านไป ทางการทำได้เพียงคาดการณ์ความรุนแรง สั่งกั้นกระสอบทรายเท่าที่ทำได้
- ปี 49 เคยไปแถวปทุมธานี ต้องกั้นกระสอบทรายสูงเกินเอว และระดับน้ำปริ่มปริ่ม ถ้ารั่วนิดเดียว หมายถึงท่วมทั้งตลาดได้
- ปี 49 เจ้าพระยาน้ำมากจนหาที่พักที่ระบายยากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ระบายน้ำเข้าที่ดินส่วนพระองค์ “ทุ่งมะขามหย่อง”
- กรณี “ทุ่งมะขามหย่อง” ทำให้เกษตรกร/เอกชนหลายราย เปิดที่ดินที่นาส่วนตัวให้กรมชลฯ ระบายน้ำเข้าไปพักไว้เป็นแก้มลิง
- น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมเรียกว่า “น้ำเหนือ” แต่ในจังหวะเดียวกัน กทม.มักต้องเผชิญกับ “น้ำฝน” และ “น้ำหนุน”
- น้ำทะเลหนุน มีพลังมหาศาลกว่าที่คิด น้ำขึ้นไม่กี่เซนต์ ส่งอิทธิพลน้ำทะเลดันเข้าเจ้าพระยาตั้งแต่จากสมุทรปราการถึงปทุมธานีได้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นพลังงานแฝงในน้ำเหนือและน้ำหนุน ทรงมีรับสั่งสมเด็จพระเทพฯ ศึกษาแปลงพลังงานน้ำนั้นมาใช้ปั่นไฟ
- โครงการตามพระราชดำริ ที่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานของน้ำเหนือและน้ำหนุน อยู่ที่คลองลัดโพธิ์ ใต้สะพานวงแหวนอุตฯ นี่เอง
- เวลาและวารี ไม่คอยใคร ทุกคนมีเท่ากัน อยู่ที่ว่าใครจะรู้จักใช้อย่างไร
- ฝนตกลงมาเท่ากัน น้ำลงมาเท่ากัน แต่ถ้าไม่รู้จักเก็บกักจัดการให้ดี ก็จะมีน้ำท่วมและภัยแล้งเกิดขึ้นเนือง ๆ
- ภูมิใจ ดีใจ และสบายใจที่พระเจ้าอยู่หัวของเรา สนพระทัย ใส่พระทัย เรื่อง “น้ำ” ทำให้บ้านเมืองเราไม่ลำบากเหมือนที่อื่น
- เข้าใจ “น้ำ” – เข้าถึง “น้ำ” – พัฒนา “น้ำ”
- แค่เรื่องน้ำเรื่องเดียว ก็รู้แล้วว่า น้ำพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อคนไทยยิ่งใหญ่กว้างขวางเพียงใด
- ถือเป็นโอกาสสำคัญของชีวิต ที่ได้ทำข่าวเรื่องน้ำ ทำให้รู้จักความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ สัมผัสพลังของความสามัคคี และเข้าใจ”น้ำพระทัยจากในหลวง”
- ทั้งหมดเป็นประสบการณ์จากการทำข่าวน้ำท่วม เมื่อปี 2549 ครับ หวังว่าจะช่วยให้เข้าใจข่าวน้ำท่วมในปีนี้มากขึ้น ชาวบ้านต้องเดือดร้อนกันมากๆ
00