Site icon YOWARE

[7 ก.พ.2551] แด่…ผู้บริหารระดับสูง

Posted on Thursday 7 February 2008 at 15:15

ตั้งหัวข้อล่อเป้าไปอย่างนั้นล่ะครับ…

แค่อยากให้ชมคีตวีดิทัศน์ (music video)
ประชาสัมพันธ์งานขององค์กรหนึ่งในสิงคโปร์

องค์กรนี้ชื่อว่า mda
หรือ Media Development Authority (www.mda.gov.sg)
อำนาจหน้าที่กว้างขวาง พัฒนาสื่อทุกแขนง

ถ้าเทียบก็เหมือนหน่วยราชการที่คุมสื่อในประเทศไทย
เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม กรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

ปรากฏว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ mda ได้เปิดตัวเพลงโปรโมทองค์กร
ซึ่งให้ผู้บริหารทุกคนมาแสดงออกหน้ากันอย่างสนุกสนาน
เนื้อเพลง ให้ผู้่บริหารแต่ละคนกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง
สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน

จะเป็นอย่างไรนั้นต้องติดตามชมครับ…
[youtube=http://www.youtube.com/v/nngYqmulLJI&rel=1]

5 comments :: post a comment :: link

เหมาะไม่เหมาะ วิเคราะห์ด้วย

Posted on Thursday 7 February 2008 at 17:31 by Anonymous
เรื่องนี้เป็นข่าวมาสักพักใหญ่แล้ว ผู้บริหารที่ออกมาทำโปรโมทชิ้นนี้ถูกรัฐบาล สื่อมวลชน และคนสิงคโปร์ ถล่มเละไปเลย ส่วนจะเหมาะหรือไม่เหมาะ ถ้าผู้บริหารสื่อในการกำกับดูแลของรัฐในบ้านเราจะทำมั่ง คุณพีรพลลองวิเคราะห์ดูซิ จะรอฟัง

ตอบ: เหมาะไม่เหมาะ วิเคราะห์ด้วย

Posted on Friday 8 February 2008 at 11:05 by พีรพล
ถ้าจะให้ตัดสินว่า
เหมาะ หรือ ไม่เหมาะ
อยู่ที่จะตัดสินด้วยกรอบความคิดใด

ผมไม่ได้ไปสนใจว่า รัฐบาล สื่อมวลชน หรือคนสิงคโปร์คิดอย่างไร
ทุกคนก็มีกรอบความคิดของตนเอง และมองเรื่องเดียวกัน…ต่างกันไป

ววววววววววววววววววววววววววววววววว

มิวสิควีดิโอตัวนี้จะเหมาะก็ต่อเมื่อ องค์กรนี้มีภาพความเก่าความแก่คร่ำครึ ไม่ทันสมัย ไม่เป็นที่ศรัทธาของคนรุ่นใหม่
ในขณะที่เรื่อง “สื่อ” กับเทคโนโลยีนั้นไปด้วยกัน

การทำแบบนี้ หมายความว่า ผู้บริหารที่นี่ทุกคน
สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเองได้
ไม่ยึดติดอยู่กับความเป็น Hi Profile
แต่พร้อมจะเป็น “คนทำงาน” ที่จริงจัง

เมื่อดูแล้ว ข้อความที่ได้คือ
“เราไม่หยุดนิ่ง เราจะนำประเทศของเราไปสู่ความเป็นผู้นำให้ได้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม”

และก็ได้เห็นหน้าผู้บริหารแต่ละคนว่า ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ทุกคนมี JD ชัดเจน และเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม

ที่มองแล้วไม่เหมาะที่สุด คือ ความเก้ ๆ กัง ๆ ของผู้สูงอายุแต่ละคน มันไม่ค่อยเข้ากับเพลงเลย จะเอาศิลปินคนอื่นมาร้องแทนได้หรือไม่ (อย่างที่คนไทยเราทำในการเลือกตั้ง…แล้วเป็นไง ?)

ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

ถ้าผู้บริหารสื่อบ้านเราจะทำมั่ง
นึกถึงใครดี…

กรมประชาสัมพันธ์ กบว. กระทรวงวัฒนธรรม

สมควรจะืทำก็ต่อเมื่อ

ต้องการบอกให้ประชาชนรู้ว่า
ตัวเองไม่ใช่เต่าล้านปี
ที่ไล่บี้ ไล่เบลอ ไล่แบน ผลงานโดยไร้มุมมองที่มีเหตุผลเพียงพอ

ต้องการจะบอกว่า
พวกเราเป็นคนทำงานที่ไม่ได้หวงเก้าอี้ หวงหน้าตา
แต่ยินดีเสียสละความเป็นตัวเอง
พัฒนาสื่อเพื่อคนไทยทุกรุ่นทุกวัย

ไม่ใช่แค่คนรุ่นเดียวกัน
หรือแค่ให้พวกผู้บริหารระดับสูง ๆๆๆ พอใจ
คนรุ่นใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อเขา
เพราะเขาไม่สามารถให้คุณให้โทษกับเราได้นี่นา ?

แต่ก่อนจะมาถึงขั้นนี้ ถ้าต้องทำอะไรจริง ๆ
ก็คงมีหลายทางเลือกให้ทำ
เอาแบบไม่เจ็บตัวเปลืองตัวมาก

ของบประมาณพิมพ์โปสเตอร์ดีไหม
ทำโบรชัวร์ ลงโฆษณาทีวี สารคดีสั้น

ซึ่งได้ผลมากเลยทีเดียวเชียว
ถ้าดูจากรายงานที่เสนอต่อผู้บริหาร

สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส

แต่ถ้า..สมมติว่า
ทำออกมาจริง ๆ
รัฐบาล สื่อมวลชน และคนไทย บางคนก็ถล่มเละ เหมือนกันครับ
อันนี้เป็นเรื่องแน่นอนอย่างเลี่ยงไม่ได้

แต่สำหรับผมนะการโดนถล่มเละ ไม่ได้มีนัยสำคัญ
มากกว่าผลสัมฤทธิ์ของสิ่งที่ทำนั้นบรรลุตามเป้าประสงค์หรือไม่

แน่นอนเราต้องฟังเสียงรอบข้าง
แต่คุณจะรู้ว่า คุณไม่สามารถทำตามเสียงรอบข้างได้ทั้งหมด
มีคนหนึ่งชอบ จะมีอีกคนหนึ่งไม่ชอบ

แม้แต่เรื่องแง่บวก อย่างการทำความดี
ยังมีบางคนพูดเลยว่า คุณดีเกินไป

?

นนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน

ในความคิดผมนะ
เหมาะ-ไม่เหมาะ เป็นคำถามหนึ่งที่ต้องนำมาคิด
แต่ไม่ใช่ประเด็นตัดสินสุดท้าย

ก่อนจะตัดสินว่าใครทำอะไรเหมาะหรือไม่
น่าจะลองถามเหตุผลของเขาก่อนไหม

บางที มองเห็นคนสองคนทำอย่างเดียวกันเป๊ะ
ไม่ได้หมายความว่าจะตัดสินได้ว่าเหมาะสมหรือไม่

เช่น เห็นคนสองคนกินข้าวในร้านอาหารหรู ทั้งสองคนแต่งตัวดีเหมือนกัน กริยามารยาทเหมือนกัน ขับรถเหมือนกัน

คนหนึ่งไม่มีหนี้ และมีรายได้เพียงพอ
อีกคนหนึ่ง หนี้บานเบอะ แต่ต้องการได้หน้าตาในสังคม

อย่างนี้เราคงตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ว่าใครเหมาะ-ไม่เหมาะ

หรือคุณคิืดอย่างไร ?

ดีครับ … ชอบ

Posted on Friday 8 February 2008 at 12:46 by Anonymous
คุณพีรพลวิเคราะห์ได้ดีครับ / ผมว่าผู้บริหารบ้านเรา โดยเฉพาะที่เป็นของรัฐ คงไม่มีใครกล้าทำแบบนี้แน่เลย แต่ใจจริงก็อยากเห็นนะ แค่นึกภาพก็น่าสนุกแล้ว แค่อยากเห็นนะครับ จะเหมาะหรือไม่เหมาะอย่างที่คุณพีรพลบอกนั่นแหละ แล้วแต่มุมมอง เห็นด้วย

Creative…

Posted on Friday 8 February 2008 at 13:55 by Omu
แล้วแต่มุมมองจริงๆค่ะ ถ้ามองให้ดีก็ดี เพราะเค้าก็ไม่ได้ทำอะไรให้ใครเสียหาย หรือทำให้ประเทศวุ่นวาย เนอะ

Freedom

Posted on Tuesday 12 February 2008 at 11:29 by Anonymous

จดหมายเปิดผนึกถึงคุณจักรภพ เพ็ญแข
สิ่งที่ท้าทายที่สุดของคุณก็คือการทำลายวงจรอุบาทว์นี้เสีย
10 กุมภาพันธ์ 2551

เรียน คุณจักรภพ

การให้สัมภาษณ์ของคุณเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการจัดระบบสื่อ ทำให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกเป็นห่วงว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของคุณคืออะไร? เหมือนกับว่าพวกเราได้กลับไปเห็นภาพเดิมๆ อีกครั้ง

อดีตที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ที่อยู่สถานะเช่นคุณ มักจะฉวยโอกาสทำให้คนที่ทำสื่อวิทยุโทรทัศน์ (Broadcast Journalists) เกรงกลัว เพื่อที่จะทำให้สื่อของรัฐ กลายเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่ออย่างไม่ละอายแก่ใจ

สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอก็คือ รัฐมนตรีจะใช้ ‘มือที่มองไม่เห็น’ ปิดกั้นความเห็นของบรรดานักวิจารณ์และฝ่ายค้าน แต่ครั้งนี้ เดิมพันสูงกว่าที่ผ่านๆ มา เมื่อคุณส่งสัญญาณว่าจะเข้าไปแทรกแซงสถานีโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS ที่เพิ่งก่อตั้ง

ปลายปีที่แล้ว ตอนที่คุณยังอยู่อีกฝากหนึ่งทางการเมือง (นปก.-บก.) คุณก็ได้ระบายความขมขื่นใจต่อการที่ไม่ค่อยได้รับความเป็นธรรมจากสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ ซึ่งคุณเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าในช่วงรัฐบาลที่แล้ว คนที่ทำงานทั้งกับกรมประชาสัมพันธ์ และ อสมท ต่างก็ต้องยอมละทิ้งความเป็นมืออาชีพ และยอมโอนอ่อนให้กับเสียงเรียกร้องต้องการของผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งก็เหมือนกับตอนที่พรรคไทยรักไทยมีอำนาจ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ผมได้ไปช่วยฝึกอบรมผู้สื่อข่าว ทั้งของช่อง 9 และช่อง 11 ซึ่งเป็นโครงการที่บีบีซีให้การสนับสนุน ผู้ที่เข้าอบรมส่วนใหญ่สะท้อนว่าเป็นการยากที่จะทำงานให้ได้ตามหลักของการ เป็นสื่อที่มุ่งมั่นรับใช้ประชาชน (Public service editorial code) อาทิ ความถูกต้อง ความเที่ยงธรรม ความเป็นกลาง และ ความยุติธรรม ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลจาก ‘มือที่มองไม่เห็น’

สาเหตุที่ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นก็เพราะเห็นว่าครั้งหนึ่งคุณเคยเป็น สื่อมวลชนที่ประสบความสำเร็จ และตอนนี้คุณอยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการทำลายวงจร อุบาทว์นี้เสีย เพื่อที่จะปลดปล่อยสื่อวิทยุและโทรทัศน์ให้เป็นอิสระ คุณสามารถที่จะสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่เป็นธรรมขึ้นมาได้ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้นำฝ่ายค้านได้แสดงความคิดเห็น หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้พูดออกอากาศไปแล้วทุกสัปดาห์ ซึ่งนี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในประเทศที่เป็นประ ชาธิปไตยจริงๆ

สิ่งที่ท้าทายคุณอีกประการหนึ่งก็คือ การยอมให้หลักของการเป็นสื่อที่มุ่งมั่นรับใช้ประชาชนได้ฝังรากลึกลงไปใน ช่อง 9 และช่อง 11 และต่อต้านแรงกดดันต่าง ๆ ที่จะมาจากคณะรัฐมนตรีโดยที่พวกเขาจะใช้ ‘มือที่มองไม่เห็น’ ชี้นำข่าวและรายการที่เกี่ยวกับข่าว คุณควรจะปล่อยให้คนทำสื่อและผู้บริหารในแต่ละองค์กรได้ทำงานของเขาไปอย่าง มืออาชีพ โดยไม่ต้องกลัวเกรงเสียงขู่ว่าจะตกงาน ผมได้เคยมอบคู่มือ หลักการทำงานของบีบีซี ให้กับ คุณปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และคุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท

หากคุณแสดงท่าทีว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในองค์กรทั้งสอง จะเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในหมู่องค์กรที่เฝ้าติดตามการ ทำงานและเสรีภาพของสื่อในระดับสากลได้อย่างมาก

กระนั้น ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณก็คือ การต้านทานแรงกระตุ้นทั้งหลายที่จะเข้าไปแทรกแซงสถานีโทรทัศน์สาธารณะ หรือ Thai PBS การที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะสื่อมวลชนจำนวนมากสูญเสียความน่าเชื่อถือและความไว้ เนื้อเชื่อใจจากประชาชน มีคำกล่าวที่ว่า “สื่อที่เลวย่อมให้กำเนิดการเมืองที่เลว” หรือหากจะกล่าวในทางกลับกันก็คงได้ Thai PBS มีต้นแบบมาจาก บีบีซี ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นสื่อที่เชื่อถือได้มากที่สุด ผมเชื่อว่าหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ. 2535 หากประเทศไทยมีบริการโทรทัศน์สาธารณะเกิดขึ้นจริง ๆ เราอาจสามารถหลีกเลี่ยงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ได้

ผมยังเชื่อด้วยว่า คุณคือนักการเมืองที่น่านับถือและซื่อสัตย์ แต่คุณพร้อมสำหรับความท้าทายข้างต้นหรือยัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณ

ด้วยความเคารพ
สมชัย สุวรรณบรรณ
เอสเซกซ์ ประเทศอังกฤษ
Email: somchaiuk@googlemail.com

00
Exit mobile version